ความหมายของการเพิ่มผลผลิตในองค์กร
การเพิ่มผลผลิตในองค์กร หมายถึง
การเพิ่มปริมาณ เพิ่มคุณภาพ
หรือคุณค่าที่ลูกค้าหรือผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจแต่ใช้ต้นทุน (ปัจจัยนำเข้า)
ต่ำที่สุด เพื่อให้ผู้ผลิต ผู้ขาย หรือผู้ให้บริการมีกำไรสูงสุดจากความหมายของการเพิ่มผลผลิตข้างต้นจะเห็นว่า
มีส่วนที่เกี่ยวข้องกันอยู่ 3 ส่วน คือ คุณภาพ ต้นทุน ความพึงพอใจของลูกค้า
คุณภาพ คือ ระดับคุณภาพหรือมาตรฐานของสินค้าหรือบริการที่ถูกกำหนดขึ้น
ต้นทุน คือ เงินทุนที่ได้จัดหาปัจจัยการผลิต ได้แก่ คนงาน เทคโนโลยี อาคาร
สถานที่ วัตถุดิบ และระบบการบริหารจัดการ
ความพึงพอใจของลูกค้า หรือการส่งมอบ คือ จุดหมายปลายทางของสินค้าหรือบริการ
ถูกส่งมอบให้ลูกค้าตรงเวลา ทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจทั้งผลิตภัณฑ์และการบริการการเพิ่มผลผลิตในองค์กร หมายถึง
กระบวนการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์/งานบริการ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพและอัตราผลผลิตของทุกหน่วยงานในองค์กรการเพิ่มประสิทธิภาพ
เป็นการดำเนินงานที่บังเกิดผลสูงสุด
โดยมีการสูญเสียทรัพยากรที่ใช้ในกระบวนการดำเนินงานน้อยที่สุดในอดีตเคยคิดว่าเทคโนโลยีสูงที่สุดจึงให้ประสิทธิภาพสูงที่สุด
แต่ในปัจจุบันหลักการเพิ่มผลผลิตเทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบหนึ่งเท่านั้น
มีองค์ประกอบที่สร้างประสิทธิภาพการทำงานอีก 2 องค์ประกอบคือ
1. การบริหาร 2. บุคลากร
ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 3 องค์ประกอบนี้
1. ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 2. มีกระบวนการ 3. กิจกรรมต่างๆ ที่จะกล่าวต่อไป
ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีที่ต้องเลือกมาใช้กับกระบวนการดำเนินงานภายในองค์กร เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์สำนักงาน และสิ่งอำนวยความสะดวกกับการทำงานต่างๆ ต้องเลือกใช้อย่างมีหลักการเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและไม่ใช้ต้นทุนที่สูงเกินไปเพราะเทคโนโลยีที่ให้ประสิทธิภาพสูงต้องใช้ต้นทุนที่สูงด้วย ดังนั้น การพิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีต้องพิจารณาจาก
1. การบริหาร 2. บุคลากร
ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 3 องค์ประกอบนี้
1. ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 2. มีกระบวนการ 3. กิจกรรมต่างๆ ที่จะกล่าวต่อไป
ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีที่ต้องเลือกมาใช้กับกระบวนการดำเนินงานภายในองค์กร เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์สำนักงาน และสิ่งอำนวยความสะดวกกับการทำงานต่างๆ ต้องเลือกใช้อย่างมีหลักการเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและไม่ใช้ต้นทุนที่สูงเกินไปเพราะเทคโนโลยีที่ให้ประสิทธิภาพสูงต้องใช้ต้นทุนที่สูงด้วย ดังนั้น การพิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีต้องพิจารณาจาก
- ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีมีความเหาะสมกับการใช้งานในการผลิตผลงานตามความต้องการ
- ราคาของเทคโนโลยีมีความเหมาะสม คุ้มค่า และให้ประสิทธิภาพตามความต้องการ
- การซ่อมบำรุงรักษาเทคโดนโลยีไม่ยุ่งยาก มีคู่มือการใช้ชัดเจน และมีอุปกรณ์ซ่อมเสริม (อะไหร่) ที่ราคาไม่แพง
- การใช้เทคโนโลยีไม่ยุ่งยาก มีระบบการฝึกอบรมให้กับผู้ซื้อ
- ขนาด และลักษณะของเทคโนโลยีมีความเหมาะสมกับหลักการยศาสตร์ของคนไทย
ประสิทธิภาพของการบริหารงาน
คือ การบริหารงานด้วยกระบวนการบริหารงานคุณภาพ PDCA และใช้หลักการบริหารคุณภาพ 8 หลักการ เพื่อบังเกิดผลการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของทุกหน่วยงานในองค์กร ประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานมีความสัมพันธ์กับการบริหารงานโดยตรง เพราะการบริหารงาน คือ การกำหนดนโยบาย แผนงาน วิธีการ เทคโนโลยี บุคลากร วัตถุดิบ และอื่นๆ ให้กับหน่วยงาน หน่วยงานต้องดำเนินการตามที่ฝ่ายบริหารกำหนดให้
คือ การบริหารงานด้วยกระบวนการบริหารงานคุณภาพ PDCA และใช้หลักการบริหารคุณภาพ 8 หลักการ เพื่อบังเกิดผลการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของทุกหน่วยงานในองค์กร ประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานมีความสัมพันธ์กับการบริหารงานโดยตรง เพราะการบริหารงาน คือ การกำหนดนโยบาย แผนงาน วิธีการ เทคโนโลยี บุคลากร วัตถุดิบ และอื่นๆ ให้กับหน่วยงาน หน่วยงานต้องดำเนินการตามที่ฝ่ายบริหารกำหนดให้
1. แนวคิดทางด้านวิทยาศาสตร์
การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์
คือ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในการผลิตอย่างคุ้มค่า ซึ่งอาจใช้วิธีการลดต้นทุน
ลดการสูญเสีย ปรับปรุงกระบวนการผลิต และมุ่งเน้นการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
แนวคิดทางวิทยาศาสตร์นี้มีวิธีการวัดการเมผลผลิต ซึ่งสามารถวัดได้ทั้งกายภาพ (Physical
Productivity) คือ วัดขนาดชิ้นงาน ปริมาณงาน
น้ำหนักและเวลาในการผลิต การวัดคุณค่า (Value Productivity)
ซึ่งจะวัดมูลค่าเป็นจำนวนเงิน
แนวทางการเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางด้านวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 4 แนวทางคือ
1.1
การเพิ่มผลผลิตโดยใช้ปัจจัยการผลิตเท่าเดิม
1.2
การเพิ่มผลผลิตโดยใช้ปัจจัยการผลิตลดลง
1.3
การรักษาผลผลิตเท่าเดิมแต่ลดปัจจัยการผลิตลง
1.4
การเพิ่มผลผลิตและเพิ่มปัจจัยการผลิต
ในอัตราส่วนการผลิตต่ำกว่าการเพิ่มผลผลิต
การเพิ่มผลผลิต
ไม่จำเป็นจะต้องเป็นการพเมปริมาณการผลิตแต่เพียงอย่างเดียว ถ้าการเพิ่มปริมาณการผลิตในสภาวะที่ตลาดไม่ต้องการก็จะทำให้ไม่สามารถขายสินค้านั้นได้
ก็ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์การเพิ่มผลผลิต ซึ่งจะส่งผลเสียต่อหน่วยงานที่ทำการผลิต
2.
แนวคิดทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
การเพิ่มผลผลิตเป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงระดับความสำเร็จของเป้าหมายพื้นฐานที่จะนำไปสู่คุณภาพชีวิตและการทำงานที่ดีขึ้นของประชาชน
การเพิ่มผลผลิตจึงเป็นเครื่องวัดความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้การเพิ่มผลผลิตยังแสดงถึงความมีศักยภาพในการดำเนินงาน
และการพัฒนาเศรษฐกิจให้มั่นคง
ซึ่งส่งผลถึงการพัฒนาประเทศชาติอีกด้วย โดยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพ
และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การเพิ่มผลผลิต
จึงเป็นการปรับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมให้เข้ากับสภาวการณ์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงและความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะประยุกต์เทคนิคและวิธีการใหม่ๆ
มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงานและสังคม รวมทั้งการมุ่งเน้นปลูกฝังจิตสำนึกในเรื่องของการประหยัดทรัพยากร
พลังงาน และเงินตราเพื่อความเจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ดังนั้นจึงเป็นได้ว่า
ความหมายของการเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางด้านวิทยาศาสตร์ทางเศรษฐกิจและสังคมคือ
ทั้งความหมายด้านแคบและกว้างนั้นครอบคลุมรวบรวมหลายความคิดหลายกิจกรรม
จำเป็นต้องใช้ความพยายามที่จะปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตในทุกระดับ
เพื่อความเจริยก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของชาติโดยส่วนรวม
การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดนี้
จึงเป็นลักษณะการปลุกผังจิตสำนึก (Conscious of Mind)
ซึ่งเป็นความสามารถ หรือพลังความก้าวหน้าของมนุษย์ ในการที่จะแสวงหาแนวทางการปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น
โดยมีพื้นฐานความเชื่อที่ว่า มนุษย์สามารถทำสิ่งต่างๆ ในวันนี้ให้ดีกว่าที่แล้วมา
ความสำคัญของการเพิ่มผลผลิต
เนื่องจากทรัพยากรซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตมีอยู่อย่างจำกัด
และนับวันมีแต่จะขาดแคลนลง
การเพิ่มผลผลิตจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะทำให้องค์การผู้ผลิตใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
โดยให้มีการสูญเสียน้อยที่สุด
เพื่อตอบสนองหรือให้บริการแก่กลุ่มบุคคลจำนวนมากที่สุด
การเพิ่มผลผลิตเป็นเรื่องของความร่วมมือโดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมและตระหนักถึงความสำคัญของการเพิ่มผลผลิต
กำหนดการวางแผนและพยากรณ์ในอนาคต เช่น
การกำหนดผลิตสูงขึ้นโดยทำให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง
องค์การผู้ผลิตสามารถสู้กับคู่แข่งขันทั้งในและต่างประเทศได้
การปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตไม่ใช่เป้าหมายในตัวเอง
การปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตเป็นวิถีทางที่จะนำไปสู่เป้าหมาย นั่นคือ
การยกระดับมาตรฐานการครองชีพ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและปรับปรุงสวัสดิการของพนักงาน
การเพิ่มผลผลิตจึงเป็นวิธีการที่จะทำให้พนักงานทุกคนได้ผลตอบแทนหรือค่าจ้างเพิ่มขึ้นในสภาวะเศรษฐกิจปกติ
และยามเศรษฐกิจตกต่ำ
การเพิ่มผลผลิตถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้องค์การต่อสู้กับคู่แข่งขันได้ด้วยการลดต้นทุนและรักษาการจ้างงานไว้โดยไม่ต้องปลดคนงานออก
การเพิ่มผงลผลิตมิอาจประสบความสำเร็จได้ถ้ายังไม่มีการแก้ไขลดความสูญเปล่าซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการเพิ่มต้นทุน
(ค่าใช้จ่าย) แก่ผลิตผลสุดท้ายความสูญเปล่าแบ่งออกเป็น 7 ประเภท คือ
1.
ความสูญเปล่าจากการผลิตมากเกินไป (Over Production)
เป็นความสูญเปล่าที่นำความเสียหายมาสู่การผลิต
การผลิตมากเกินไปทำให้ต้องใช้
วัตถุดิบและแรงงานมากขึ้น
วัตถุดิบที่อยู่ในกระบวนการผลิต จำเป็นต้องใช้เนื้อที่เป็นคลังจัดเก็บสิ้นค้า
สิ่งเหล่านี้ล้วนบวกเข้าไปกับต้นทุนของผลิตภัณฑ์ทั้งสิ้น
และกว่าที่องค์การจะจำหน่ายออกจากสต๊อกให้หมด ก็อาจมีสินค้าแบบใหม่เกิดขึ้นในตลาด
การนำเอาสินค้าที่ค้างสต๊อกมาขายจึงต้องขายในราคาต่ำลง ฉะนั้น การผลิตสินค้าจะต้องผลิตให้เหมาะกับความต้องการของลูกค้าในปริมาณที่เหมาะสม
ต้นทุนต่ำและตรงตามเวลาที่ต้องการ
2.
ความสูญเปล่าจากสิ่งบกพร่อง (Derect Rework)
ข้อบกพร่องต่างๆ
ที่เป็นความผิดพลาด ไม่ว่าจะในกระบวนการผลิตหรือในสำนักงาน
ก็อาจนำมาซึ่งความเสียหายได้
ส่วนใหญ่แล้วเมื่อเกิดปัญหาเรื่องคุณภาพจะลงมือแก้ไขข้อบกพร่องนั้น การปรับปรุงคุณภาพโดยการตรวจหาสิ่งบกพร่อง
และขจัดสิ่งบกพร่องของกระบวนการผลิตเพื่อไม่ให้ผลิตภัณฑ์ที่ด้อยคุณภาพไปสู่ลุกค้า
ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้ต้นทุนการส่งมอบและรับประกันจะสูงเท่านั้น
ยังมีผลกระทบต่อธุรกิจและส่วนแบ่งตลาดในอนาคตอีกด้วย
สาเหตุของการเกิดสิ่งบกพร่องที่สำคัญได้แก่
-
เครื่องจักร อุปกรณ์อยู่ในสภาพที่บกพร่อง
-
วัตถุดิบขาดคุณภาพ
-
สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ดี
-
ข้อมูลแบบแปลนขาดความชัดเจน
-
พนักงานขาดทักษะหรือขาดความรับผิดชอบ
การผลิตที่ดีต้องยึดสุภาษิตที่ว่า
“กันไว้ดีกว่าแก้” ไม่ใช่จะต้องมาแก้ตามหลัง
การปรับปรุง
คุณภาพโดยการป้องกันทำได้ดังนี้
-
ตรวจสอบข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์ก่อนส่งมอบลูกค้า
-
ตรวจสอบส่วนที่บกพร่องที่อาจเกิดขึ้นเป็นประจำ
-
ค้นหาสาเหตุของข้อบกพร่อง
-
กำจัดต้นเหตุข้อบกพร่องออกจากระบบ
การตรวจสอบสินค้าจะทำให้อัตราการส่งคืนกลับและแก้งานใหม่ลดลงต้นทุนการผลิตจะ
ลดตามไปด้วย
การปรับปรุงคุณภาพด้วยการป้องกันมีผลดังนี้
-
การปรับปรุงรูปแบบของผลิตภัณฑ์
-
การพัฒนากระบวนการผลิตให้ดียิ่งขึ้น
-
เกิดขั้นตอนการตรวจสอบผลผลิตทั้งระบบ
-
มีการบำรุงรักษาเครื่องจักร
อุปกรณ์อย่างถูกต้องตลอดเวลา
3.
ความสูญเปล่าที่เกิดจากการรอคอย / ความล่าช้า
(Delay
/Idle Time)
การรอคอย/ความล่าช้า
เกิดจากการที่เครื่องจักรต้องรอวัสดุ รอซ่อมหรือพนักงานรอ
วัสดุ
อุปกรณ์ คำสั่งการผลิต ซึ่งก่อให้เกิดปัญหา ถ้าเครื่องจักรไม่ได้ทำอะไร หรือรองาน
สิ่งที่สูญเสียคือ ค่าเสียโอกาส ควรใช้เวลาที่ต้องรอคอยนั้นทำอะไรที่ก่อให้เกิดผลผลิตมากขึ้น
ความล่าช้าอาจเกิดจากการขาดความสมดุลในการขนส่ง หรือการส่งชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์ล่าช้า
ซึ่งจะทำให้เกิดความสูญเปล่าในจังหวะที่รอคอยการผลิต
การลดความสูญเปล่าจากการรอทำได้ดังนี้
-
ลดการรอคอยของวัสดุ เนื่องจากการที่วัสดุสำหรับการผลิตมาไม่ทันตามกำหนดเวลา
เพื่อไม่ให้เกิดการขาดของวัสดุที่ป้อนเข้าบริเวณทำงานสามารถทำได้โดยใช้การ JIT
-
ลดการหยุดของเครื่องจักร
โดยการบำรุงรักษาเครื่องจักรให้คงไว้ในสภาพที่ดีตามแผนการบำรุงรักษา
ซึ่งจะทำให้เครื่องจักรอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
-
ฝึกพนักงานให้มีทักษะการทำงานหลายด้าน (Multi skill)
4.
ความสูญเปล่าที่เกิดจากการสะสมงานระหว่างการผลิต
(Unnecessary
Stock)
การที่สะสมวัตถุดิบไว้มากเกนไป
จะทำเกิดการสิ้นเปลืองในการดูแลรักษา เป็นการ
เพิ่มต้นทุนการผลิตโดยเปล่าประโยชน์
อาจกล่าวได้ว่าการลดความสูญเปล่าขั้นตอนนี้ก็ คือ การลดระดับสินค้าคงคลัง
ลดสินค้าคงคลังที่ดีทำได้ดังนี้
-
กำจัดวัสดุที่หมดอายุเพื่อจะได้ไม่ต้องเปลืองเนื้อที่
และไม่ทำให้ก่อเกิดความสับสน
-
ไม่ผลิตสิ่งที่เกินความต้องการของกระบวนการต่อไป
-
ไม่จัดหาวัตถุดิบเพียงเพื่อต้องการส่วนลดจากการซื้อมาก
ส่วนลดนี้มักถูกความสูญเปล่าอันเกิดจากการสะสมสินค้าคงคลังหักจ่ายไปหมด
-
ผลิตสินค้าตามที่ลูกค้าต้องการ
5.
ความสูญเปล่าจากการขนส่ง (Transpotation)
การขนส่งเป็นกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มแต่กลับเป็นต้นทุนขึ้น
การขนย้ายผลิต
ภัณฑ์ระหว่างผลิตมีมากมาย
เช่น
งานขนย้ายวัตถุดิบหรือชิ้นงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งการขนส่งของไปวางไว้ชั่วคราวเพื่อรอการใช้ครั้งต่อไป
เกิดเป็นสต๊อกงานระหว่างการผลิต
เป็นเรื่องที่องค์การจะต้องพิจารณาตั้งแต่การออกแบบผังโรงงาน องค์การจำเป็นต้องวางแผนการทำงานที่สัมพันธ์กัน
เพื่อการขนส่งหรือส่งต่อระหว่างแผนก การเชื่อมงานจะได้ดำเนินไปย่างสะดวก
และพิจารณาคลังสินค้าให้อยู่ใกล้โรงงาน ใกล้แผนกส่งของ
วิธีการนี้ไม่เพียงแต่ทำงานได้สะดวกเท่านั้น
แต่ยังสะดวกต่อการส่งมอบและเวลาลูกค้ามารับสินค้าอีกด้วย
6.
ความสูญเปล่าจากกระบวนการ (Non Effective
Process)
หลายขั้นตอนในกระบวนการผลิตมีการทำงานซ้ำซ้อนไม่จำเป็น
มีการจัดลำดับงานที่
ไม่ถูกต้องและไม่ได้เพิ่มมูลค่าให้กับตัววัสดุ
กระบวนการผลิตถ้าพนักงานมีเจตคติว่า “ช่วยไม่ได้”
นั้นหมายถึง
กำลังพลาดความสูญเปล่าที่อาจควบคุมได้
ความสูญเปล่าอันเกิดจากกระบวนการผลิตแตกต่างกัน ซึ่งอาจมาจากการออกแบบผลิตภัณฑ์
ขั้นตอนกระบวนการผลิต วิธีการปรับปรุงออกแบบให้ผลิตภัณฑ์ได้ง่าย
โดยคำนึงถึงประสิทธิผลและลดการสูญเปล่าให้น้อยที่สุด
7.
ความสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหว (Motion)
ลักษณะของการเคลื่อนไหวและระยะทางการเคลื่อนที่ของร่างกายในการทำงานที่มีผล
ผลลัพธ์ของงาน
ยิ่งเคลื่อนไหวไม่จำเป็นเท่าไร การสูญเสียเวลาก็มีมากเท่านั้น
ดังนั้นการปรับปรุงการปฏิบัติงานโดยการขจัด หรือลดการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นออกจะได้สร้างความต่อเนื่องทางการเคลื่อนไหวที่เกิดประโยชน์ที่สุด
การลดการสูญเปล่าไม่ใช่เพียงลด เวลาหรือทรัพยากรเท่านั้น
จึงต้องมีการทบทวนกระบวนการทำงาน และขยายผลไปยังทุกกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่การผลิตให้มีการสูญเปล่าน้อยที่สุด
การลดความสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหวทำไดดังนี้
-
จัดวางเครื่องมือและวัสดุตามความถี่การใช้งาน
ให้วางไว้ใกล้ๆ เพื่อใช้งานได้สะดวก
-
จัดเครื่องมือที่ใช้ผลิตภัณฑ์
โดยให้รวมเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตชิ้นงานนั้นไว้ในภาชนะหรือจุดเก็บเพื่อให้หยิบใช้ได้ง่าย
-
จัดชุดเครื่องมือหรือวัสดุตามลำดับการใช้งานโดยจัดเครื่องมือหรือวัสดุตามลำดับการใช้งาน
โดยให้ทิศทางการเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน
วัตถุประสงค์ของการเพิ่มผลผลิต
อุตสาหกรรมผลิตไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ตาม
จะพบว่า “วัตถุประสงค์การผลิต คือ
การทำกำไรให้มากที่สุดโดยการยึดครองตลาดส่วนใหญ่ให้ได้ และสามารถจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นให้ได้มากที่สุด” แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว วัตถุประสงค์ของการผลิตองค์การผู้ผลิตต่างๆ
ควรยึดถือแนวทางจากที่ เฮนรี่ ฟอร์ด (Henry Ford)
ได้เขียนหนังสือไว้ในปี ค.ศ. 1962 ที่ชื่อ Today and
Tomorrow หลักการคือ
1.
การสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้าอย่างครบถ้วน
2.
การมีกำไรที่เหมาะสมเพียงพอ
3.
การใช้เงินทุนในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ
4.
การสร้างความพอใจให้แก่ผู้ถือหุ้น
5.
การให้รางวัลตอบแทนแก่ผู้มีส่วนร่วมอย่างเสมอภาค
6.
การปฏิบัติต่อผู้ส่งมอบและลูกค้าอย่างยุติธรรม
7.
การเป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อสังคม
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.l3nr.org/posts/435456
สืบค้นเมื่อวันที่ 29/11/2560
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น