3.คุณภาพ
ภาพลักษณ์ของคุณลักษณะที่ดีของผลิตภัณฑ์หรือบริการ
บุคคลและองค์กรที่ตอบสนองความ
ต้องการ
และความคาดหวังของลูกค้าหรือผู้รับบริการ
การควบคุมคุณภาพ คือ
การควบคุมคุณภาพ (quality control) หมายถึง
กิจกรรมการบริหารคุณภาพ ในส่วนที่มุ่งท าให้บรรลุ
ข้อกำาหนดทางด้านคุณภาพ ตามนัยจากคำนิยามดังกล่าว
คือ การดำเนินการส่วนใดที่เป็นไปใน
ลักษณะมุ่งกระท
าให้เกิดผลที่บนชิ้นงานผลิตภัณฑ์หรือบริการอย่างเจาะจง แล้วตรวจสอบทดสอบ
ผลการดำเนินการรวมทั้งกิจกรรมอื่นๆที่จะทำให้ชิ้นงานผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณลักษณะตามที่
กำหนดไว้ เราเรียกการดำเนินการทั้งหมดนั้นว่า “
การควบคุมคุณภาพ”
การประกันคุณภาพ คือ
การกระทำที่มีการ วางแผน ไว้ล่วงหน้าและเป็นไปอย่างมีระบบ
ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมี เพื่อให้ความ
มั่นใจได้ว่า ผลิตภัณฑ์หรือบริการจะสามารถตอบสนองความต้องการด้านคุณภาพได้ตามที่ได้ตกลง
กัน
การประกันคุณภาพเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าจะได้รับแต่สินค้าและบริการที่มี
คุณภาพเท่านั้น
การประกันคุณภาพ (quality assurance) หมายถึง
กิจกรรมการบริหารคุณภาพในส่วนที่มุ่งทำให้เกิด
ความมั่นใจว่าจะบรรลุข้อกำหนดทางด้านคุณภาพ
ตามนัยจากคำนิยามดังกล่าว คือ การดำเนินการส่วนใดที่เป็นไปในลักษณะเพื่อจะสร้างความเชื่อมั่น
ให้แก่กระบวนการผลิต หรือกระบวนการให้บริการ
โดยมิได้มุ่งกระทำเพียงแค่ที่ตัวชิ้นงาน
ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการเท่านั้น
หากแต่มุ่งที่จะสร้างความมั่นใจตั้งแต่ก่อนจะลงมือดำเนินการ
ผลิตหรือให้บริการ ว่าผลของการผลิต หรือให้บริการนั้นๆ
จะบรรลุข้อกำหนดทางด้านคุณภาพได้
อย่างแน่นอน เราเรียกการดำเนินการในลักษณะเช่นนี้ว่า
“ การประกันคุณภาพ”
ทำไมต้องประกันคุณภาพ
การที่เราจะทราบว่าสิ่งใดมีคุณภาพ
มีขีดความสามารถในการใช้งาน ดีในระดับใดนั้น คงต้องมีการ
วัด
และการประเมินในสิ่งนั้นๆอย่างมีกระบวนการที่ถูกต้องเป็นสากล การศึกษาก็คล้ายกัน
ต้องมี
การนำเสนอให้ทราบว่ามีคุณภาพอย่างไร
อะไรคือตัวชี้วัด วัดได้อย่างไร วัดได้แค่ไหน ใครเป็นคน
ทำ ใครเป็นคนวัด มีการนำเสนอโดยวิธีการอย่างไร
เมื่อใด เพื่อให้ผู้ใช้มีความมั่นใจว่าสิ่งนั้นเขา
สามารถนำไปใช้ได้ตรงตามความต้องการ
และไห้ประโยชน์กับผู้ใช้มากที่สุด ประการแรก และที่
สำคัญคือตาม พ.ร.บ กาศึกษาแห่งชาติ ปี 2542
ได้ก าหนดให้สถานศึกษาทุกแห่ง ทุกระดับต้อง
ปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ในหมวด 6
เพื่อรับการประเมินภายนอกอย่างน้อย 1 ครั้งทุก
ระยะ 5 ปี และควรให้ด าเนินการภายในปี 2543
ซึ่งต้องท าความเข้าใจให้ถูกต้องเกี่ยวกับการประเมิน
คุณภาพเป็นเบื้องต้นดังนี้
1. การประเมินเป็นการให้ข้อมูลที่ช่วยให้มีการปรับปรุงตนเองให้ทำงานได้ดีขึ้น
2. การประเมินเป็นงานที่ต้องทำในวงจรการทำงานอยู่แล้ว
ไม่ใช่การเพิ่มภาระ
3. การประเมินเป็นงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง
4.
การประเมินเป็นงานของทุกคนไม่ใช่การสร้างผลงานทางวิชาการของใคร
5. การประเมินเป็นงานที่ต้องทำด้วยใจเป็นกลาง
สะท้อนผลงานตามความเป็นจริง
6. การประเมินเป็นงานที่ทุกคนต้องทำด้วยความเต็มใจ
และอยากทำ
7.
การประเมินเป็นงานที่ต้องทำให้ถูกต้องตามหลักวิธีการ ผู้ทำต้องมีความรู้ในการประเมิน
8. การประเมินเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันทำให้เสร็จ
9.
การประเมินเป็นงานที่ต้องเอาผลไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง
10.การประเมินเป็นงานที่ต้องเผยแพร่ผลการประเมินให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบ
(คู่มือการประเมินภายในฯ
สถาบันส่งเสริมการประเมินฯ สำนักนายกรัฐมนตรี 2543)
ความเป็นมาของการประกันคุณภาพการศึกษา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
มาตรา 81 ได้กำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษา
อบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิด
“ความรู้คู่คุณธรรม” และจัดให้มีกฎหมาย
เกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งนำไปสู่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 ก่อให้เกิดการ
ปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ที่มุ่งเน้นคุณภาพการศึกษา
คือ ได้กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพ
การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ
(พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542: มาตรา 47)
ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา
หมายถึง การบริหารจัดการและการด
าเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษา เพื่อพัฒนา
คุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
สร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการ
โดยตรง ได้แก่ ผู้เรียน ผู้ปกครอง
และผู้รับบริการทางอ้อม ได้แก่ สถานประกอบการ ประชาชน
และสังคมโดยรวม
ความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา
มีความส าคัญ 3 ประการ คือ
1. ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้ เกิดความเชื่อมั่นและสามารถ
ตัดสินใจเลือกใช้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน
2. ป้องกันการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ
ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและเกิดความเสมอ
ภาคในโอกาสที่จะได้รับการบริการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง
3. ทำให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและมาตรฐานอย่าง
จริงจัง
ซึ่งมีผลให้การศึกษามีพลังที่จะพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมและ
ต่อเนื่อง
การประกันคุณภาพการศึกษาจึงเป็นการบริหารจัดการและการด
าเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของ
สถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้
ผู้รับบริการการศึกษา
ทั้งยังเป็นการป้องกันการจัดการศึกษาที่ด้อยคุณภาพและสร้างสรรค์การศึกษา
ให้เป็นกลไกที่มีพลังในการพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น
การควบคุมคุณภาพการศึกษา (Quality Control)
1. การศึกษา และเตรียมการ มีแนวการดำเนินการ ดังนี้
1.1 ตั้งคณะทำงาน และพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อ …
1) ศึกษาแนวคิด รูปแบบ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา
2) พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
โดยกำหนดรูปแบบที่สถานศึกษาสามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) จัดทำสื่อ เอกสาร คู่มือ และเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
1.2 ให้การศึกษาแก่ครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อ…
1) สร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้เกิดความตระหนัก
และเห็นความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา
เพื่อทุกมนุษย์จะได้ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานต่าง ๆ
เพื่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
2) ให้ช่วยกันสร้างแนวคิดการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและกำหนดรูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสมกับสถานศึกษา
1.3 ตั้งคณะกรรมการ และคณะอนุกรรม ในการดำเนินการประเมินคุณภาพการศึกษา
เพื่อ…
1) กำหนดบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบงานต่าง ๆ
ที่สถานศึกษาต้องจัดทำเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
2) การสร้างทีมงานต่าง ๆ ของสถานศึกษาให้เข้มแข็ง
3) การพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานต่าง ๆ
เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
2. การวางแผนการประกันคุณภาพการศึกษา
โดยวางแผนการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
โดย…
1.1 กำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
ที่เป็นการกำหนดจากมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
และมาตรฐานการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด มีขั้นตอน ดังนี้
1) ตั้งคณะทำงานยกร่างมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
2) ประชุมพิจารณา
ความเหมาะสมของร่างมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
3) ปรับปรุง
และจัดทำเป็นมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษามาให้ทุกมนุษย์ของสถานศึกษานำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาสถานศึกษา
ให้เข้าสู่มาตรฐานของสถานศึกษาต่อไป
1.2 จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานต่าง
ๆ ของสถานศึกษาเพื่อควบคุมให้ผู้รับผิดชอบงานคุณภาพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐาน
และตัวชี้วัดที่กำหนดปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพสม่ำเสมอตลอดเวลา มีขั้นตอน ดังนี้
1) ตั้งคณะทำงานยกร่างมาตรฐานการปฏิบัติงาน
สำหรับงานต่าง ๆ ที่วิเคราะห์มาจากมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
2) จัดประชุมพิจารณาทบทวน
และรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงานที่เขียนขึ้น
พร้อมกับปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานในสถานศึกษา
3) จัดทำเป็นมาตรฐานการปฏิบัติงานของสถานศึกษาและประกาศให้ทุกคนนำไปปฏิบัติ
1.3 สร้างเครื่องมือประเมินคุณภาพการศึกษา
ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาที่กำหนดขึ้น เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
มาจัดทำเป็นข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา ที่จะใช้ในการหาจุดที่จะพัฒนาสถานศึกษาต่อไป
มีขั้นตอนดังนี้
1) ตั้งกรรมการสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
2) ดำเนินการสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
3) ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
4) จัดเก็บเครื่องมือเพื่อการนำไปใช้ต่อไป
1.4 ประเมินสภาพปัจจุบัน
หรือเก็บข้อมูลสภาพปัจจุบันของสถานศึกษา
โดยใช้เครื่องมือประเมินคุณภาพการศึกษาที่สร้างขึ้นในข้อ 1.2 มีขั้นตอน ดังนี้
1) วางแผนกำหนดการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ตลอดปีการศึกษา
2) แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
เป็นคณะเล็ก ๆ คณะละ 2-3 คน โดยให้มีการประเมินข้ามฝ่าย
เพื่อป้องกันการประเมินที่เข้าข้างฝ่ายของตน จะได้ช่วยกันหากข้อบกพร่องของการปฏิบัติงาน
ที่จะช่วยกันแก้ไข ให้งานนั้น ๆ มีคุณภาพ และป้องกันไม่ให้ข้อบกพร่องนั้น ๆ
เกิดขึ้นอีก
3) เตรียมเครื่องมือประเมิน
โดยรวบรวมเครื่องมือประเมินที่เกี่ยวกับนักเรียน หรือครู หรือ ผู้ปกครอง ฯลฯ
ให้เป็นฉบับเดียวกันสำหรับแต่ละกลุ่ม เพื่อใช้การประเมินเพียงครั้งเดียว
แล้วทำให้ได้ข้อมูลทุกมาตรฐาน และตัวชี้วัด ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มมนุษย์นั้น ๆ
อย่างครบถ้วน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ให้ข้อมูล
4) ดำเนินการประเมิน
และสรุปผลการประเมินตามมาตรฐาน และตัวชี้วัด
1.5 จัดทำสารสนเทศ
หรือข้อมูลพื้นฐานสภาพปัจจุบันของสถานศึกษา
โดยนำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
มาจัดทำข้อมูลพื้นฐานแสดงผลการปฏิบัติงานของสถานศึกษา โดยจัดกลุ่มของข้อมูล
ตามมาตรฐานและตัวชี้วัด คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
1.6 จัดทำแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา
หรือแผนพัฒนาสถานศึกษา มีขั้นตอน ดังนี้
1) ตั้งคณะทำงานร่างแผนกลยุทธ์หรือแผนพัฒนาสถานศึกษา
2) สำรวจความต้องการของผู้ปกครอง
ชุมชน สังคม ตรวจสอบนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเจตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 2 สภาพขีดความสามารถของสถานศึกษา
และผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสำหรับมาตรฐาน
และตัวชี้วัดคุณภาพที่ยังต้องปรับปรุง
มาเป็นข้อมูลหนึ่งในการจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษา จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี
ตามแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา
3) ร่างแผนกลยุทธ์สถานศึกษาระยะ
3 ปี
4) ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พิจารณาให้ข้อเสนอแนะ
5) ปรับปรุงร่างแผนกลยุทธ์
สถานศึกษา
6) ส่งให้ผู้เกี่ยวข้องให้ความเห็นชอบและลงนาม
7) ประกาศใช้เป็นแผนพัฒนาสถานศึกษาต่อไป
1.7 จัดทำแผนปฏิบัติราชการตามแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา
โดยการนำกลยุทธ์และกิจกรรมในแต่ละปีการศึกษา ที่กำหนดไว้ในกลยุทธ์สถานศึกษา
ไปวางแผนการปฏิบัติราชการประจำปี ซึ่งอาจจะมีขั้นตอนการดำเนินงาน ต่อไปนี้
1) ตั้งคณะทำงาน
ยกร่างกำหนดกรอบแผนงาน โครงการของสถานศึกษา
2) ประชุมพิจารณากรอบแผนงาน
โครงการ และงบประมาณ
3) ให้ทุกฝ่าย/กลุ่มสาระการเรียนรู้/งาน
ร่วมกันวางแผนปฏิบัติการของตน
4) ประชุมชี้แจง
พิจารณาร่างแผนปฏิบัติราชการ
5) ปรับปรุง
และจัดทำแผนปฏิบัติราชการการที่สมบูรณ์
6) ขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
7) จัดทำเป็นแผนปฏิบัติราชการประจำปีของสถานศึกษา
3. การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา
มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
3.1 ทบทวนการประกันคุณภาพการศึกษา
โดยทบทวนงานต่าง ๆ ที่สถานศึกษาได้ทำการวางแผนไว้ให้ทุกคนเข้าใจ และนำไปปฏิบัติ
3.2 ปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของสถานศึกษา
และตามแผนปฏิบัติราชการของสถานศึกษาโดยดำเนินการ ดังนี้
1) ให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้รับผิดชอบปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของสถานศึกษาที่รับผิดชอบ
และปฏิบัติงานตามแผน/โครงการ ที่รับผิดชอบให้เต็มความสามารถ
พร้อมเก็บรวบรวมหลักฐานการปฏิบัติงานไว้อย่างเป็นระบบ ที่ค้นหาง่าย รวดเร็ว
2) ติดตามการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน และติดตามการทำงานตามโครงการที่ได้รับมอบหมาย
3) แก้ไข
ปรับปรุงข้อบกพร่องที่พบจากการติดตามการปฏิบัติงาน
3.3 นิเทศ
กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
ระหว่างที่ทุกฝ่ายของสถานศึกษาได้ดำเนินงานไป ขณะเดียวกัน ก็ช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้สำเร็จลุล่วงไป
เพื่อให้คุณภาพของสถานศึกษาเข้าสู่มาตรฐานที่กำหนดไว้เร็วขึ้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://arit.chandra.ac.th/sar/meaning.pdf
สืบค้นเมื่อวันที่ 15/11/2560
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น