วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การจัดการงานอาชีพ

10.การจัดการงานอาชีพ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


การจัดการอาชีพ  
        คือการทำมาหากินของมนุษย์  เป็นการแบ่งหน้าที่การทำงานของคนในสังคม  และทำให้ดำรงอาชีพในสังคมได้  บุคคลที่ประกอบอาชีพจะได้ค่าตอบแทน หรือรายได้ที่จะนำไปใช้จ่ายในการดำรงชีวิต  และสร้างมาตรฐานที่ดีให้แก่ครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ


ความจำเป็นของการประกอบอาชีพมีดังนี้

    1.  เพื่อตนเอง การประกอบอาชีพทำให้มีรายได้มาจับจ่ายใช้สอยในชีวิต
    2.  เพื่อครอบครัว ทำให้สมาชิกของครอบครัวได้รับการเลี้ยงดูทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
    3.  เพื่อชุมชน ถ้าสมาชิกในชุมชนมีอาชีพและมีรายได้ดีจะส่งผลให้สมาชิกมีความเป็นอยู่ดีขึ้น อยู่ดีกินดี ส่งผลให้ชุมชนเข้มแข็งและพัฒนาตนเองได้
    4.  เพื่อประเทศชาติ  เพื่อประชากรของประเทศมีการประกอบอาชีพที่ดี  มีรายได้ดี  ทำให้มีรายได้ที่เสียภาษีให้กับรัฐบาลมีรายได้ไปใช้บริหารประเทศต่อไป

    มนุษย์ไม่สามารถผลิตสิ่งต่างๆมาสนองความต้องการของตนเองได้ทุกอย่างจำต้องมีการแบ่งกันทำและเกิดความชำนาญ จึงทำให้เกิดการแบ่งงานและแบ่งอาชีพต่างๆขึ้น สาเหตุที่ต้องมีการแบ่งอาชีพมีดังนี้

                        1.  ความรู้ความสามารถของแต่ละคนแตกต่างกัน
                        2.  ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และภูมิประเทศที่แตกต่างกัน
                        3.  ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ที่แตกต่างกัน


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การจัดการอาชีพ


การประกอบอาชีพของคนไทย

                        การทำมาหากินของคนไทยสมัยก่อน คือการทำไร่  ทำนา  ทอผ้า  ทำเครื่องจักสานไว้ใช้ที่เหลือก็จะจำหน่ายในชุมชน  คนไทยบางกลุ่มจะเป็นข้าราชการเมื่อบริษัทต่างชาติมาลงทุนในประเทศไทย ทำให้มีการจ้างงาน และมีอาชีพให้คนไทยเลือกทำมากขึ้น


ลักษณะอาชีพของคนไทย

                        1.  งานเกษตรกรรม เช่น  ปลูกพืช  เลี้ยงสัตว์  การประมง
                        2.  งานอุตสาหกรรม เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความถนัดด้านช่างสาขาต่างๆ และเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าและบริการต่างๆ
                        3.  งานธุรกิจ เป็นงานด้านการค้าขาย  การทำบัญชี การจัดการธุรกิจ  การติดต่อสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศ
                        4.  งานคหกรรม  เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาหาร เย็บปักถักร้อย  ตกแต่งบ้าน
                        5.  งานศิลปกรรม  เป็นงานที่มีความละเอียดอ่อน ความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปกรรมของไทย เช่น งานหัตถกรรม  ประติมากรรม  จิตรกรรม


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การจัดการอาชีพ


                          ความต้องการมุ่งความสำเร็จ (Need for Achivement)  ในการทำงานเมื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วและมองเห็นโอกาสแห่งความเป็นไปได้  ผู้ประกอบการจะต้องมุ่งมั่นใช้กำลังกาย กำลังความคิด สติปัญญาและความสามารถทั้งหมด  พร้อมทั้งทุ่มเทเวลาให้กับงาน  โดยไม่คำนึงถึงความยากลำบาก  เพื่อให้งานบรรลุความสำเร็จที่มุ่งหวังไว้  ผู้ประกอบการจะต้องเรียนรู้ถึงความผิดพลาดที่ผ่านมาเพื่อแก้ไขให้เกิดความสำเร็จ  พอใจ  ภูมิใจที่งานออกมาดี  แต่สิ่งที่สำคัญคือ  จุดมุ่งหมายทางธุรกิจ  มิได้อยู่ที่กำไร  แต่จะต้องทำเพื่อขยายความเจริญเติบโตของกิจการ  กำไรเป็นเครื่องสะท้อนว่าทำได้  และไม่เพียงสนใจต่อการบรรลุเป้าหมายเท่านั้น  แต่จะต้องให้ความสำคัญต่อวิธีการหรือกระบวนที่ทำให้บรรลุเป้าหมายด้วย

                          มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity  Thinking) การจะเป็นผู้สำเร็จในงานอาชีพได้นั้น  จะต้องเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ไม้พอใจในการทำสิ่งซ้ำๆเหมือนเดิมตลอดเวลา  แต่เป็นผู้ที่ชอบนำประสบการณ์ที่ผ่านมาประยุกต์  สร้างสรรค์  หาวิธีใหม่ที่ดีกว่าเดิม  สามารถหาแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ  ปรับปรุงกระบวนการดำเนินการอยู่ตลอดเวลา กล้าที่จะผลิตสินค้าที่แตกต่างจากเดิม กล้าใช้วิธีขายที่ไม่เหมือนใคร  กล้าประดิษฐ์  กล้าคิดค้นสิ่งที่แปลกใหม่เข้าสู่ตลาด  สามารถคิดค้นประดิษฐ์เครื่องจักรเครื่องมืออุปกรณ์ใหม่ๆ มาใช้ในการผลิต  สามารถนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้  รวมทั้งแสวงหาวัตถุดิบใหม่ๆมาทดแทนของเดิม  รู้จักปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน  นำระบบการจัดการสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพมาใช้เพื่อลดต้นทุน  ความคิดสร้างสรรค์เหล่านี้  อาจเกิดขึ้นด้วยตัวเอง หรือเอาแนวคิดมาจากนักประดิษฐ์ นักวิจัยหรือผู้เชี่ยวชาญก็ได้

                          รู้จักผูกพันต่อเป้าหมาย (Addicted to Goals) เมื่อตั้งเป้าหมาย  ผู้ประกอบการจะต้องทุ่มเททุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  เป้าหมายทุกเป้าหมายล้วนจะต้องเอาชนะทั้งสิ้น  มีความคิดผูกพันที่จะเอาชนะ  จนสามารถวางแผนกลยุทธ์ไว้ล่วงหน้า  มีการวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค ขัดขวางในการไปสู่เป้าหมาย  เตรียมป้องกันที่จะเอาชนะอุปสรรค  ที่คาดว่าจะทำให้เกิดความล้มเหลว  และหาหนทางแก้ไขเมื่อประสบความเหลว  และในขณะเดียวกันการมองโลกในแง่ดีมีความหวัง  มุ่งมั่นต่อไปเป้าหมายของความสำเร็จจะมองเห็นในอนาคต

                          มีความสามารถในการบริหารงานและมีความเป็นผู้นำที่ดี (Management and Leadership Capability)  มีลักษณะการเป็นผู้นำ  รู้จักหลักการบริหารจัดการที่ดี ภาวะการเป็นผู้นำจะแตกต่างไปตามระยะการเจริญเติบโตของธุรกิจ  ในระยะเริ่มทำธุรกิจ จะต้องรับบทบาทการเป็นผู้นำจะแตกต่างไปตามระยะการเติบโตของธุรกิจ  ในระยะเริ่มทำธุรกิจ  จะต้องรับบทบาทเป็นผู้นำที่ลงมือทำทุกอย่างด้วยตนเอง  ต้องทำงานหนักเพื่อบรรลุความสำเร็จ  เอาใจใส่ผู้ร่วมงาน  วางแผนทางการทำงาน  ให้คำแนะนำและให้ผู้ร่วมงานรับค่าสิ่งด้วยความเต็มใจในการปฏิบัติงาน  เป็นผู้กำกับดูแลอย่างใกล้ชิดและเป็นกันเองจะทำให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยดี  ต่อมาเมื่อกิจการเติบโตขึ้น  การบริหารงานก็จะเปลี่ยนแปลงไป  ลูกน้องก็จะมีลักษณะเปลี่ยนแปลงและเชื่อมั่นได้มากขึ้น  ไว้ใจได้  สามารถที่จะแบ่งความรับผิดชอบให้ลูกน้องได้มากขึ้น  จนสามารถปล่อยให้ดำเนินการเองได้  ส่วนตนจะได้มีเวลาใช้ความคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์    ขยายกิจการหรือลงทุนใหม่  ดำเนินกิจการให้ลักษณะมืออาชีพมากกว่าเป็นธุรกิจเครือญาติ  กล้าลงทุนจ้างผู้บริหารมืออาชีพ  รู้จักปรับเปลี่ยนการบริหาร  เพื่อทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

                          มีความเชื่อมั่นในตนเอง (Be Self Confident)  ผู้ประกอบการที่จะประสบความสำเร็จมักจะเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง  มีความเป็นอิสระและรู้จักพึ่งตนเอง  มีความมั่นใจ  มีความเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว  มีลักษณะเป็นผู้นำ  มีความเชื่อมั่นที่จะเอาชนะสิ่งแวดล้อมที่น่ากลัว  มีความทะเยอทะยาน  และไม่ประเมินความสามารถของตนเองสูงเกินไปหรือเชื่อมั่นตนเองมากเกินไป

                          มีวิสัยทัศน์กว้างไกล (Visionary)  เป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์เหตุการณ์ในอนาคตได้อย่างแม่นยำ และรู้จักเตรียมพร้อมรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น

                          มีความรับผิดชอบ (Responsibility)  มีความรับผิดชอบต่องานที่ทำเป็นอย่างดี เป็นผู้นำในการทำสิ่งต่างๆ มักจะมีความริเริ่มแล้วลงมือทำด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นทำและจะดูแลจนงานสำเร็จตามเป้าหมาย โดยจะรับผิดชอบผลการตัดสินใจ ไม่ว่าผลจะออกมาดีหรือไม่ มีความเชื่อว่าความสำเร็จเกิดจากความเอาใจใส่  ความพยายาม  ความรับผิดชอบ  มิใช่เกิดจากโชคช่วย


                          มีความกระตือรือร้นและไม่หยุดนิ่ง (Enthusiastic)  มีการทำงานที่เต็มไปด้วยพลัง  มีชีวิตชีวา  มีความกระตือรือร้น  ทำงานทุกอย่างโดยไม่หลีกเลี่ยง  ทำงานหนักมากกว่าคนทั่วไป

                         ใฝ่หาความรู้เพิ่มเติม (Take New Knowledge)  ถึงแม้ว่าจะมีความเชี่ยวชาญในการทำงาน แต่ความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่ยังไม่เพียงพอ  ควรที่จะหาความรู้เพิ่มเติม โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับข้อมูลทางการตลาด  เศรษฐศาสตร์  การเมือง  กฏหมายทั้งในและต่างประเทศ  ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้  การหาความรู้เพิ่มเติมสามารถหาได้จากการสัมนา  ฝึกอบรม  อ่านหนังสือ  หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

                          กล้าตัดสินใจและมีความมานะพยายาม (Can Make Decision And Be Attempt)  มีความกล้าตัดสินใจมีความหนักแน่นไม่หวั่นไหว  เชื่อมั่นในตนเองกับงานที่ทำ  มีจิตใจของนักสู้  ถึงแม้งานจะหนักก็ทุ่มเทสุดความสามารถ  ไม่กลัวงานหนัก เห็นงานหนักเป็นงานท้าทายในการใช้ความรู้  สติปัญญา และความสามรถในการทำงาน   ความมานะและความพยายามเป้นการทุ่มเทชีวิตจิตใจในการทำงาน แข่งขันกับตนเองและแข่งขันกับเวลา  ขวนขวายหาหนทางแก้ปัญหาและอุปสรรคจนประสบความสำเร็จ

                           สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม (Adaptable)  ต้องรู้จักการปรับตัวตามสภาพแวดล้อม  มากกว่าปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามยถากรรม หรือขึ้นอยู่กับโชคหรือดวง

                          รู้จักประมาณตนเอง (Self Assessment) การรู้จักประมาณตนเองไม่ทำสิ่งเกินตัว ในการทำธุรกิจควรจะเริ่มจากธุรกิจเล็กๆก่อน  และเมื่อกิจการเจริญค่อยเพิ่มทุนและขยายธุรกิจออกไป  จึงจะประสบความสำเร็จ

                          ประหยัด (Safe For Future)  การดำเนินงานในระยะสั้นจะยังไม่ทันเห็นผล ผู้ประกอบการจะต้องรู้จักประหยัดและอดออม  ต้องรู้จักห้ามใจที่จะหาความสุข  ความสบายในช่วงที่ธุรกิจอยู่ในช่วงตั้งตัว  และต้องดำเนินธุรกิจต่อไปในระยะเวลายาวนานจนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย


                                มีความซื่อสัตย์ (Loyalty)  ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้าและหุ้นส่วน  ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับธนาคารด้วยการเป็นลูกหนี้ที่ดี เป็นนายที่ดีของลูกน้อง และต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง
สาระสำคัญ
                        หากเปรียบเสาเข็มเป็นรากฐานของตึกสูง ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษา ก็คือ พื้นฐานที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ สร้างรายได้และจัดหาปัจจัย 4 อันเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตอยู่อย่างมั่นคง ในการเลือกประกอบอาชีพนั้น ควรพิจารณาจากความถนัด ความสนใจ ความก้าวหน้าในอาชีพ เป็นอาชีพที่สุจริตถูกต้องตามกฎหมาย และควรเป็นงานที่ทำแล้วมีความสุข ได้รับค่าตอบแทนที่เพียงพอกับการดำเนินชีวิต และเลี้ยงครอบครัวได้อย่างเพียงพอ หากทุกคนเลือกอาชีพที่มความมั่นคงต่อชีวิต สังคมก็จะมีความเป็นอยู่ที่ดี เศรษฐกิจก็จะเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปการ์ตูนไฟล์ gif
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://goo.gl/cjBAXq
สืบค้นเมื่อวันที่ 27/12/2560 

การว่างแผน



9.การวางแผน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การว่างแผน

1. ความหมายการวางแผน
                    การวางแผน(Planning)  มาจากคำในภาษาละตินว่า  “แพลนัม” (Planum)  หมายถึงพื้นที่ราบหรือพิมพ์เขียว  คำภาษาอังกฤษใช้  “Planning” ( สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. 2540 : 48 )  ซึ่งหมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และการตัดสินใจ ของผู้บริหารที่จะกำหนดวิธีการไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติให้บรรลุผลตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ   โดยนำเอาข้อมูลข่าวสาร (Information)  ในอดีตมากำหนดหรือพยากรณ์อนาคต ดังนั้นแนวคิดของการวางแผนจึงมีลักษณะเป็น  “ศาสตร์ที่ต้องใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical Information)  ที่มีความแม่นตรง และเชื่อถือได้ และจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบที่ชัดเจน และมีความต่อเนื่องกันตามลำดับ  ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้แผน  มีความรู้ และความเข้าใจที่จะสามารถนำแผนไปปฏิบัติ ให้บรรลุผลสำเร็จได้

2. ประโยชน์ของการวางแผน
การวางแผนทุกระดับจะมีประโยชน์ทั้งต่อผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติดังนี้
               1. ป้องกันมิให้เกิดปัญหาและความผิดพลาด  หรือลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานในอนาคต
               2. ทำให้องค์การมีกรอบหรือทิศทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนว่าจะทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และใครทำ ทำให้นักบริหารมีความมั่นใจในการปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จได้ง่าย
               3. ช่วยให้เกิดการประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร  เช่น  คน  เงิน  วัสดุอุปกรณ์  เวลา ฯลฯ
               4. ช่วยให้การปฏิบัติงานรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เพราะมีแผนเป็นแนวทาง เปรียบเสมือนเรือที่มีหางเสือ
               5. ช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นระบบ นักบริหารสามารถควบคุม ติดตามการปฏิบัติงาน   ได้ง่าย

3. องค์ประกอบของการวางแผน
               องค์ประกอบของการวางแผนที่สำคัญ คือ
การกำหนดจุดหมายปลายทาง (Ends) ที่ต้องการบรรลุ   ซึ่งมีหลายระดับ  คือ
               1) จุดมุ่งหมายหรือเป้าประสงค์ (Goals)  เป็นการแสดงถึงความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาข้างหน้า ซึ่งมักจะมองในรูปของผลลัพธ์ (Outcomes )  ในอนาคตกำหนดอย่างกว้างๆ
               2) วัตถุประสงค์ (Objective)   เป็นองค์ประกอบที่เป็นผลมาจากการแปลงจุดมุ่งหมาย (Goal) ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นเพื่อง่ายในการนำไปปฏิบัติ วัตถุประสงค์จึงเป็นการกำหนดผลผลิต (Output) ที่คาดหวังให้เกิดขึ้นอย่างกว้าง ๆ แต่ชัดเจน และสามารถปฏิบัติได้
               3) เป้าหมาย (Targets) เป็นองค์ประกอบที่เป็นผลมาจากการแปลงวัตถุประสงค์ให้เป็นรูปธรรมในการปฏิบัติมากขึ้น เป้าหมายจึงเป็นการกำหนดผลลัพธ์สุดท้ายที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามแผนโดยจะกำหนดเป็นหน่วยนับที่วัดผลได้เชิงปริมาณ และกำหนดระยะเวลาที่จะบรรลุผลสำเร็จนั้นด้วย



วิธีการและกระบวนการ (Means and Process)  
               เป็นองค์ประกอบที่เกิดจากการนำข้อมูลต่าง ๆ มาวิเคราะห์และกำหนดเป็นทางเลือก(Alternative)  สำหรับเป็นแนวทางปฏิบัติ  หรือกลวิธี (Strategy)  ให้บรรลุจุดหมายที่กำหนดไว้ จากนั้นจะถ่ายทอดออกมาเป็นแผนงาน (Programs) และโครงการ (Projects) ที่เชื่อมโยงกัน  โดยทั่วไปจะประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก  คือ
               1) กลวิธีการปฏิบัติ หรือมาตรการ (Strategy)  เป็นการกำหนดแนวทางปฏิบัติให้บรรลุจุดหมาย (Ends)  ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
               2) แผนงาน (Programs)  และโครงการ (Projects)  เป็นการกำหนดแนวทางการกระทำที่เป็นรูปธรรมในการปฏิบัติมากขึ้น   ซึ่งโดยทั่วไปจะมีประเด็นในการเขียนที่ชัดเจน ครอบคลุม   และเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ

ทรัพยากร (Resources)  และค่าใช้จ่าย (Cost)
               เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในการวางแผนและการนำแผนไปปฏิบัติ   ซึ่งได้แก่  คน  เงิน  วัสดุอุปกรณ์   ซึ่งผู้วางแผนจะต้องระบุให้ชัดเจนและมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ มิใช่เขียนแผนแบบวาดวิมานในอากาศหรือ เขียนแผนแบบเพ้อฝัน

การนำแผนไปปฏิบัติ (Implementation)  
               เป็นองค์ประกอบที่แสดงถึงกรรมวิธีในการตัดสินใจเลือกแผนงานและโครงการไปปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จตามจุดหมาย (Ends) ที่กำหนดไว้  ซึ่งขั้นตอนนี้จะต้องอาศัยกลยุทธ์หลายอย่างทั้งกลยุทธ์ภายในองค์การและกลยุทธ์ภายนอกองค์การ

การประเมินผลแผน (Evaluation)  
               เป็นองค์ประกอบที่แสดงถึงการตรวจสอบการควบคุมและการวัดผลการปฏิบัติตามแผนเพื่อให้ทราบถึง ความก้าวหน้าหรือข้อบกพร่องหรือข้อจำกัดของแผนนั้น ๆ  เพื่อจะได้ปรับปรุงแผนให้สามารถนำไปปฏิบัติได้บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

4. ระดับของการวางแผน
               ถ้าจะแบ่งระดับของการวางแผนตามลักษณะของการบริหารงานในองค์การ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
               1. การวางแผนระดับนโยบาย (Policy Planning)  เป็นแผนระดับสูงสุดขององค์การ มักจะระบุแนวทางอย่างกว้างๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะก่อให้เกิดแผนชนิดอื่นๆ ส่วนใหญ่จะเป็นแผนระยะยาว (Long - Range Plan) เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9
               2. การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning)  เป็นการวางแผนหลอมรวมครอบคลุมกิจกรรมทั้งหมดขององค์การ หรือแผนงานใหญ่ขององค์การ โดยจะระบุไว้ อย่างกว้างและ มองไกลไปพร้อมๆกัน ซึ่งมักจะเป็นแผนระยะยาว 5 - 10 ปี ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับแผนระดับนโยบาย
               3. แผนปฏิบัติการ หรือแผนดำเนินงาน (Operation Plan)  เป็นการวางแผนที่กำหนดจุดมุ่งหมายระยะสั้น  ระยะเวลา ไม่เกิน 1 ปี  ซึ่งถ่ายทอดมาจากแผนกลยุทธ์ องค์ประกอบของแผนปฏิบัติการจะประกอบด้วย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย  กิจกรรม ขั้นตอนการปฏิบัติ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน แผนปฏิบัติการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท  คือ  แผนใช้ประจำ (Standing Plans)  และแผนใช้เฉพาะครั้ง (Single - use Plans)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปการ์ตูน ขยับ gif 
 ขอบคุณข้อมูลจาก

https://goo.gl/n4S7aA

สืบค้นเมื่อวันที่27/12/2560

วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การพัฒนางาน

8.การพัฒนางาน


การพัฒนางานคือ กระบวนการที่มุ่งเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงวิธีการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การพัฒนางาน


หลักการและวิธีพัฒนางาน

     การพัฒนางานคือ การบวนการที่มุ่งเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงวิธีการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
     การวิเคระห์งานมีวิธีการดังนี้
     1.การวิเคระห์งานด้วยการใช้แนวทางความเป็นเป็นไปได้ของงาน
     2.การวิเคระห์งานด้วยการวิเคระห์กิจกรรมของงาน
     3.การวิเคระห์งานด้วยการวิเคระห์หน่วยของงาน


การพัฒนาวิธีการทำงาน

     1ปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีขึ้น
     ปรับปรุงวิธีการใช้เครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ ตลอดจนสถานที่ ทำงาน
     ปรับปรุงกระบวนการผลิต ให้เหมาะสมขึ้น
     ปรับปรุงการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณภาพง่ายต่อการผลิต และต้นทุนต่ำ
     ปรับปรุงโดยการเลือกใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ แปรรูปได้ง่ายและราคาไม่แพง


หลักการพัฒนาสถานที่ทำงาน

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

          1. การจัดเก็บและขนย้ายวัสดุสิ่งของอย่างมีประสิทธิภาพ
          2. การใช้เครื่องจักรอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
          3 .การจัดรูปแบบของงาน
          4. การวิเคระห์ระบบงานและจัดสถานที่
          5. การพัฒนาสภาพเงื่อนไขและสภาพแวดล้อม


องค์ประกอบของสภาพเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมการทำงาน

          1. สุขภาพและความปลอดภัย
          2. เวลาการทำงาน ทำงานเป็นเวลานานจะทำให้เกิดการสูญเสียความสนใจ ในงานความเหนื่อยหน่าย ความเมื่อยล้า
          3. สภาพภูมิอากาศ
          4. กลิ่น ฝุ่น และสารพิษ
          5. แสงสว่าง
          6. เสียงและความสั่นสะเทือน
          7.อัคคีภัยและอันตรายจากไฟฟ้า


การพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์

วัตถุประสงค์ของการออกแบบเพื่อพัฒนาเครื่องมือ
          1.เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ราคาต่ำมีคุณภาพและมีขนาด/รูปร่างเท่ากันทุกชิ้น
          2.เพิ่มผลผลิตการพัฒนาปรับปรุงเครื่องมือ
          3.พัฒนาวิธีทำงานกับเครื่องมือให้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
          4.เลือกใช้วัสดุที่ใช้ทำเครื่องมือเพื่อให้อายุการใช่งานเครื่องมือสูงสุด
          5.เตรียมอุปกรณ์ให้ปลอดภัยมากที่สุด



หน้าที่ของอุปกรณ์ในการทำงาน

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
          1.อุปกรณ์นำเจาะ ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือช่วยในการกำหนดตำแหน่งยึดชิ้นงานและเป็นตัวนำทางของเครื่องมือตัด(Cutting tools)ในการเจระรูหรือคว้านรู
          2.อุปกรณ์จับยึดงาน ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือช่วยในการกำหนดตำแหน่งจับยึดชิ้นงานและร่องรับชิ้นงานให้อยู่กับที่ในขณะเครื่องกำลังทำงาน
         3.อุปกรณ์ขนถ่าย เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเคลื่อนที่ ขนส่งของจากที่หนึ่งไปที่หนึ่งในเวลาที่ต้องการ และอยู่ในลักษณะของคุณภาพที่ต้องการรวมทั้งการเก็บรักษาและการบรรจุหีบห่อ
                                                                                                      ขอบคุณข้อมูลจาก
https://goo.gl/PsRU94
สืบค้นเมื่อวันที่20/12/2560
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

7.การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางาน
ความหมายการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน

การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ได้มีนักวิชาการหลายท่านให้ความหมายดังนี้
          จอห์น ดี.มิลเล็ท (John D.Millet,1954) ได้กล่าวว่า ประสิทธิภาพ หมายถึง ผลการปฏิบัติงานที่ทำให้เกิดความพึงพอใจ และได้รับผลกำไรจากการปฏิบัติงาน ซึ่งความพึงพอใจ หมายถึง ความพึงพอใจในการบริการให้กับประชาชน โดยพิจารณาจาก เช่น การให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน การให้บริการอย่างรวดเร็วทันเวลา การให้บริการอย่างเพียงพอ การให้บริการอย่างต่อเนื่อง และการให้บริการอย่างก้าวหน้า เป็นต้น

          สมใจ ลักษณะ (2544) ได้กล่าวว่า การมีประสิทธิภาพในการทำงานของตัวบุคคล หมายถึงการทำงานให้เสร็จ โดยสูญเวลาและเสียพลังงานน้อยที่สุด ได้แก่การทำงานได้เร็ว และได้งานที่ดี บุคลากรที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน เป็นบุคลากรที่ตั้งใจในการปฏิบัติงานเต็มความสามารถ ใช้กลวิธี หรือเทคนิคการทำงานที่จะสร้างผลงานได้มาก เป็นผลงานที่มีคุณภาพเป็นที่น่าพอใจ โดยสิ้นเปลืองต้นทุน ค่าใช้จ่าย พลังงาน และเวลาน้อยที่สุด

          สิริวดี ชูเชิด (2556) ได้กล่าวว่า ประสิทธิภาพการทำงาน หมายถึง ความสามารถและทักษะในการกระทำของบุคคลของตนเอง หรือของผู้อื่นให้ดีขึ้น เจริญขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของตนเองและขององค์กร อันจะทำให้ตนเอง ผู้อื่นและองค์กร เกิดความพึงพอใจและสงบสุขในที่สุด

          สรุปว่า การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน คือ การปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม ความสามารถ และทักษะในการทำงานของตนเองหรือผู้อื่นให้ดีขึ้นเจริญขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ซึ่งจะทำให้ตนเองผู้อื่นและองค์กรเกิดความสุขในที่สุด โดยการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาองค์กรหรือการพัฒนาสังคม


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางาน


 ประโยชน์การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน

บุคลากรถือเป็นหัวใจสำคัญในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ และเป้าหมายที่องค์กรตั้งไว้ การบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นการที่องค์การจะกระทำภารกิจหลักให้บรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพนั้น หน่วยงานจำเป็นจะต้องมีบุคลากรที่มีคุณภาพในปริมาณที่เหมาะสมกับงาน

          ซึ่งประโยชน์ของการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน มีดังนี้

          1. ช่วยทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนการหรือวิธีการทำงานใหม่ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
          2. ช่วยเพิ่มกลยุทธ์ในการสร้างความสำเร็จในการทำงานและช่วยลดความซ้ำซ้อนของงาน
          3. ช่วยทำให้การทำงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ด้วยวิธีการที่รวดเร็ว
          4. ช่วยทำให้องค์กรมีความเจริญก้าวหน้า หรือพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ
          5. ทำให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ ลดความสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลา ทรัพยากร และกำลังคน
          6. องค์กรมีความสามารถในการกำหนดกลยุทธ์ เทคนิค วิธีการ ด้วยวิธีการทำงานที่เหมาะสม ลดปัญหาอุปสรรคและมีความสุขในการทำงาน
          7. ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง เมื่อพัฒนาตนเองแล้วจะสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการพัฒนานั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่องานและองค์กรต่อไป

ประเภทของประสิทธิภาพ

 
ประสิทธิภาพ เป็นเรื่องของการใช้ปัจจัยและกระบวนการในการดำเนินงาน โดยประสิทธิภาพอาจไม่แสดงเป็นค่าประสิทธิภาพเชิงตัวเลข แต่แสดงด้วยการบันทึกถึงลักษณะการใช้เงิน วัสดุ คน และเวลา ในการปฏิบัติงานอย่างคุ้มค่า ประหยัด ไม่มีการสูญเปล่าเกินความจำเป็น รวมถึงมีการใช้กลยุทธ์หรือเทคนิควิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม สามารถนำไปสู่การบังเกิดผลได้เร็วและมีคุณภาพ ประเภทของประสิทธิภาพ มี 2 ระดับคือ

          1. ประสิทธิภาพของบุคคล หมายถึง การทำงานเสร็จโดยสูญเสียเวลาและพลังงานน้อยที่สุด ค่านิยมการทำงานที่ยึดกับสังคม เป็นการทำงานได้เร็วและได้งานดี
          บุคคลที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน คือบุคคลที่ตั้งใจปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ ใช้กลวิธีหรือเทคนิคการทำงานที่จะสร้างผลงานได้มาก เป็นผลงานที่มีคุณภาพ เป็นที่น่าพอใจ โดยสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย พลังงานและเวลาน้อย เป็นบุคคลที่มีความสุขและพอใจในการทำงาน เป็นบุคคลที่มีความพอใจจะเพิ่มพูนคุณภาพและปริมาณของผลงาน คิดค้น ดัดแปลง วิธีการทำงานให้ได้ผลดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ

          2. ประสิทธิภาพขององค์กร คือการที่องค์กรสามารถดำเนินงานต่าง ๆ ตามภารกิจหน้าที่ขององค์กร โดยใช้ทรัพยากร ปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงกำลังคนอย่างคุ้มค่า มีการสูญเปล่าน้อยที่สุด มีลักษณะการดำเนินงานไปสู่ผลตามวัตถุประสงค์ โดยประหยัดทั้งเวลา ทรัพยากร และกำลังคน
          องค์กรมีความสามารถในการใช้ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ เทคนิควิธีการ และเทคโนโลยี ทำให้เกิดวิธีการทำงานที่เหมาะสม มีความราบรื่นในการดำเนินงาน มีปัญหาอุปสรรค และความขัดแย้งน้อยที่สุด บุคลากรมีขวัญกำลังใจดี และมีความสุขในการทำงาน

องค์ประกอบของการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน

การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน เป็นการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมความสามารถ และทักษะในการทำงานของตนเองหรือผู้อื่นให้ดีขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ซึ่งองค์ประกอบการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาองค์กร โดยผู้เขียนยกตัวอย่างแนวคิดของนักวิชาการมีดังนี้

          ปีเตอร์สัน (Perterson) และ โพลแมน (Plowman) ได้กล่าวว่า องค์ประกอบของประสิทธิภาพการทำงาน ไว้ดังนี้คือ

          1. คุณภาพของงาน (Quality) จะต้องมีคุณภาพสูงคือผู้ผลิตและผู้ใช้ได้ประโยชน์คุ้มค่าและมีความพึงพอใจ
          2. ปริมาณ (Quality) งานที่เกิดขึ้นต้องเป็นไปตามความคาดหวังของหน่วยงาน
          3. เวลา (Time) คือเวลาที่ใช้ในการดำเนินงานต้องอยู่ในลักษณะที่ถูกต้อง เหมาะสมกับหลักการและทันสมัย
          4. ค่าใช้จ่าย (Cost) เป็นในการดำเนินการทั้งหมดจะต้องเหมาะสมกับงานและวิธีการ คือจะต้องลงทุนน้อยและได้ผลกำไรมากที่สุด


          จิตติมา อัครธิติพงศ์ (2556) ได้กล่าวว่า ประสิทธิภาพในการทำงานในองค์กรเป็นหัวใจสำคัญในการนำองค์กรไปสู่การบรรลุผลความสำเร็จของการดำเนินงาน องค์กรจะมีผลผลิตเป็นที่น่าพอใจทั้งในด้านการผลิต การบริการ มีความเจริญก้าวหน้า และสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าและบุคลากรองค์กร ซึ่งองค์ประกอบการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานที่สำคัญ มีดังนี้

          1. สิ่งแวดล้อมนอกองค์กร ได้แก่ ตลาดความต้องการของลูกค้า สภาพเศรษฐกิจของสังคมและประเทศ เช่น ภาวะเงินเฟ้อ สภาพคล่องทางการเงินการธนาคาร กำลังการซื้อของลูกค้า ความเปลี่ยนแปลงของสังคม

          2. สิ่งแวดล้อมในองค์กร ได้แก่ นโยบาย วิสัยทัศน์ และปรัชญาขององค์กรที่กำหนดทิศทางการดำเนินงาน วัฒนธรรมองค์กร และการจัดบรรยากาศการทำงานที่ส่งเสริมการทำงานของบุคลากร

          3. ปัจจัยขององค์กร ได้แก่ สภาพความพร้อมขององค์กรในด้านที่ดิน อาคารสถานที่ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ เงินทุน เทคโนโลยี และศักยภาพของบุคคล
          ด้านบุคลากรหรือบุคคล ถือเป็นหัวใจของการพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กร บุคคลต้องมีประสิทธิภาพในการทำงานดังนั้นองค์ประกอบด้านตัวบุคคลที่จำไปสู่การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน ได้แก่ ปรัชญาและอุดมการณ์ บุคลิกภาพ ความต้องการ ค่านิยม เป้าประสงค์ของชีวิตและหารทำงาน การสำรวจตนเอง ความสามารถในการพิชิตอุปสรรคในการทำงาน และการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง เป็นต้น

          4. กระบวนการขององค์กร เป็นองค์ประกอบสำคัญลำดับสองต่อจากองค์ประกอบ ด้านบุคคล กระบวนการที่สำคัญขององค์กร คือ การดำเนินงานทั้งหมดที่จะทำให้เกิดการผลิต และการบริการที่น่าพอใจ ขอบข่ายของกระบวนการขององค์การที่เอื้อต่อการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร ได้แก่ การจัดโครงสร้างงานขององค์กร การวางแผน การจัดองค์กรในด้านบุคลากร การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน การควบคุมคุณภาพการทำงาน และการพัฒนาองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง












            ประสิทธิภาพในการทำงาน

  Certo, Samuel C. (2000) ได้กล่าวว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพขององค์กร ประกอบด้วย 3 ปัจจัยคือ


          1. ปัจจัยด้านโครงสร้างองค์กร องค์กรจะมีประสิทธิภาพเพียงใดขึ้นอยู่กับลักษณะโครงสร้างที่เหมาะสม โดยจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยย่อยที่สำคัญ

          2. ปัจจัยด้านบุคคล เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดเพราะบุคคลคือหมู่คณะที่รวมตัวกันเป็นองค์กร มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีบทบาทในการทำงาน หรือดำเนินงานต่าง ๆ สัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ดังนั้นบุคคลที่มีตำแหน่งหน้าที่ต่าง ๆ ตามโครงสร้างงานในองค์กร ครอบคลุมบุคคลระดับสูง กลาง และล่าง รวมถึงบุคคลในระดับการทำงานทั้งหมด ซึ่งประสิทธิภาพขององค์กรจะขึ้นอยู่กับคุณลักษณะและคุณสมบัติที่พึงปรารถนาในด้านต่าง ๆ ได้แก่ จำนวนบุคลากรในแต่ละกลุ่มงาน ความรู้ความสามารถพื้นฐาน ความรู้ความสามารถที่เกี่ยวกับงานในหน้าที่ ความเป็นผู้นำ ทักษะการสื่อสาร ทักษะด้านเทคโนโลยี ทักษะด้านการบริหารจัดการ เจตคติ ค่านิยมที่พึงปรารถนา ความสามารถในการพัฒนาคน พัฒนางาน และการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับนโยบาย และแผนการดำเนินงานขององค์กร

          3. ปัจจัยด้านเทคโนโลยี เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบการบริหาร การใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ทันสมัยในกระบวนการผลิต การควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพ การจัดทำระบบข้อมูลการเชื่อมโยงการตลาด การบริการ เพื่อการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สู่สังคม สมยศ นาวีการ (2544) ได้กล่าวว่า แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร มี 7 ปัจจัยคือ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การ์ตูน ไฟล์ gif

ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.thailandindustry.com/indust_newweb/onlinemag_preview.php?cid=771
สืบค้นเมื่อวันที่ 20/12/2560

วันอังคารที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การจัดการความเสี่ยง

6.การจัดการความเสี่ยง


ผลการค้นหารูปภาพ



การจัดการความเสี่ยง (Risk Management) สำหรับองค์กร
การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันมีความยุ่งยากและสลับซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ และก็ยิ่งเป็นการยากสำหรับผู้บริหารที่จะทราบว่ามีปัญหาอะไรรออยู่ในอนาคตบ้าง ดังนั้นธุรกิจจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกระบวนการอย่างเป็นระบบเพื่อที่จะให้ทราบว่าธุรกิจจะเผชิญปัญหาอะไรและจะหาทางป้องกันอย่างไรเพื่อให้ความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นมีผลกระทบต่อธุรกิจน้อยที่สุด ดังนั้นการจัดการความเสี่ยงจึงหมายถึง กระบวนการวางแผนการบริหารและการจัดการความเสี่ยง เพื่อช่วยในการตัดสินใจของบุคคลหรือธุรกิจใดๆในอันที่จะหาวิธีการที่ดีที่สุด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นให้น้อยที่สุด โดยมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
ความเสี่ยง คือ ความไม่แน่นอนต่อการประสบกับเหตุการณ์ หรือ สภาวะที่เราต้องเผชิญกับสถานการณ์อันไม่พึงประสงค์โดยมีความน่าจะเป็น หรือโอกาสในสิ่งนั้นๆมากกว่าศูนย์
การจัดการความเสี่ยง หรือ การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) คือ กระบวนการในการระบุ (Risk Identification) วิเคราะห์ (Risk analysis) ประเมิน (Risk assessment) ดูแลตรวจสอบและควบคุมความเสี่ยง (Risk Control) ที่สัมพันธ์กับกิจกรรม หน้าที่และกระบวนการทำงาน เพื่อให้องค์กรลดความเสียหายจากความเสี่ยงมากที่สุด อันเนื่องมาจากภัยที่องค์กรต้องเผชิญในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง

นิยามของความเสี่ยง
ความเสี่ยงมีความหมายในหลากหลายแง่มุม เช่น ความเสี่ยงคือ
     - โอกาสที่เกิดขึ้นแล้วธุรกิจจะเกิดความเสียหาย (Chance of Loss)
     - ความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียหายต่อธุรกิจ (Possibility of Loss)
     - ความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น (Uncertainty of Event)
     - การคลาดเคลื่อนของการคาดการณ์ (Dispersion of Actual Result)


แนวทางในการบริหารความเสี่ยง ซึ่งโดยปกติจะประกอบด้วย
            1. การกำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดการความเสี่ยงของบริษัท (Objective) และการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดที่แต่ละองค์กรจะต้องสามารถวิเคราะห์ (Risk Analysis) และกำหนดให้ได้ว่าองค์กรหรือหน่วยงานใดในองค์กรต้องเผชิญกับความเสี่ยงใดบ้าง (Risk Identification) ซึ่งความเสี่ยงที่เกิดขึ้นอาจมีขนาดและผลกระทบที่แตกต่างกัน (Risk Estimation) โดยที่ความเสี่ยงบางประเภทอาจจะมีโอกาสหรือความเป็นไปได้ที่จะเกิด (Likelihood) ตั้งแต่น้อยมาก (Rare) จนไปถึงมีความเป็นไปได้สูง (Almost Certain) รวมถึงผลกระทบที่ตามมาจากความเสี่ยงที่เกิดขึ้น (Consequence) อาจมีตั้งแต่ระดับน้อยมาก (Insignificant) ในขณะที่ความเสี่ยงบางประเภทอาจมีแนวโน้มที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์กรอย่างมหาศาล (Catastrophic) ดังนั้นบุคคลากรในธุรกิจจึงควรที่จะวิเคราะห์และกำหนดความเสี่ยงที่ธุรกิจนั้นเผชิญให้ได้

ยกตัวอย่างเช่นการวิเคราะห์ความเสี่ยงของบริษัทแห่งหนึ่งเกี่ยวกับโอกาสของการเกิดความเสี่ยงจากเหตุการณ์ใดๆและผลกระทบของความเสี่ยงต่อด้านต่างๆ ขององค์กรธุรกิจ ได้แก่ ด้านการเงิน (Financial) ชื่อเสียง (Reputation) การหยุดชะงักขององค์กร (Business Interruption) และบุคลากร (Human) เป็นต้น
ความน่าจะเป็นหรือโอกาสในการเกิดความเสี่ยง (Likelihood)
ความน่าจะเป็นนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กรณ์ในการกำหนดว่าโอกาสของการเกิดเหตุการณ์นั้นๆต้องมีมากน้อยขนาดไหนถึงจะจัดว่ามีโอกาสนอ้ยหรือมาก
Likelihood is measured using the following scale
       1. Rare              โอกาสที่เกิดขึ้นน้อยมาก เช่น มากว่า10 ปีถึงจะเกิดเหตุการร์ขึ้นที
               2. Unlikely         โอกาสที่เกิดขึ้นมีน้อย เช่น 5 - 10 ปีจะเกิดขึ้นที
          3.Reasonable     มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นในช่วงทุก 2-5 ปี
               4. Likely            โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวมีอยู่สูง เช่น เกิดขึ้นทุกๆ 1- 2 ป
               5. Almost certain โอกาสของเหตุการณ์เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีหรือเกิดขึ้นมากว่า 1 ครั้งภายใน 1 ปี

ผลกระทบหรือความเสียหายที่เกิดจากความเสี่ยง (Consequence)
ผลกระทบหรือความเสียหายต่อองค์กรที่เกิดจากความเสี่ยงสามารถแบ่งออกเป็นด้านต่างๆ ได้แก่   
   1.ความเสียหายด้านทรัพย์สินหรือตัวเงิน (Financial)
   2.ความเสียหายด้านชื่อเสียงขององค์กร (Reputation)
   3.ความเสียหายด้านการหยุดชะงักของการดำเนินการขององค์กร (Business Interuption)
   4.ความเสียหายด้านบุคลากร (Human)

การประเมินผลกระทบของความเสียหายอาจแบ่งเป็นระดับได้ดังนี้
Consequence or Impact is measured using the following scal
   1.Insignificant   2.Small   3.Medium   4.Large5.Catastrophic
ความรุนแรงของเสียหายแต่ละระดับ ขึ้นอยู่กับองค์กรจะระบุว่าความเสียหายแต่ละระดับอยู่ที่เหตุการณ์แบบไหนหรือมีมูลค่าเท่าไหร่หลังจากที่มีการประเมินความน่าจะเป็นหรือโอกาสในการเกิดของความเสี่ยงแต่ละหัวข้อรวมถึงการประมาณการความเสียหายจากความเสี่ยงนั้นๆแล้ว ก็จะนำเอาทั้งสองกรณีมาพิจารณา
โดยใช้ตารางประเมินความเสี่ยง (
Risk Matrix) เพื่อประเมินว่าความเสี่ยงใดที่ให้ความสำคัญในการบริการจัดการ (Risk Prioritization) รวมถึงหาวิธีการจัดการที่เหมาะสม


Risk Matrix


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูป การ์ตูน เคลื่อนไหว





Legend for Risk Ratings
 -   E-Extreme Risk ความเสี่ยงระดับสูงสุด ต้องมีแผนการจัดการที่แน่นอนไว้รองรับ
 -   H-High Risk ความเสี่ยงระดับสูง ต้องมีการเตรียมการเตรียมแผนการจัดการไว้รองรับ
 -  M-Moderate Risk ความเสี่ยงระดับกลาง ควรติดตามความเสี่ยงเป็นระยะ เพื่อวางแผนการจัดการ
 -    L-Low Risk ความเสี่ยงระดับต่ำ อาจยอมรับความเสี่ยงไว้ได้ หรือคอยติดตามระบุระดับความเสี่ยงเป็นระยะ เพราะความเสี่ยงระดับต่ำอาจเพิ่มระดับความรุนแรงกลายเป็นความเสี่ยงระดับกลางหรือสูงได้

การประเมินความเสี่ยงดังกล่าวเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจถึงความสำคัญของการจัดการความเสี่ยงแต่ละเรื่อง และเพื่อให้ผู้บริหารสามารถจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง (Prioritization) ที่จำเป็นต้องได้รับการจัดการอย่างเป็นลำดับ รวมไปถึงใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกวิธีที่เหมาะสมในการจัดการกับความเสี่ยงนั้นๆ


            2. การหาวิธีการจัดการกับความเสี่ยง
                 2.1 การลดความเสี่ยง (Risk Reduction) ความเสี่ยงที่ได้รับอาจลดลงได้ ด้วยวิธีการหาทางป้องกันเพื่อมิให้มีความเสียหายเกิดขึ้น การลดความเสี่ยงนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะลดจำนวนครั้งของความเสียหายลง หรือลดความรุนแรงของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การวิเคราะห์อาจอาศัยข้อมูลในอดีต ปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงข้อมูลการคาดการณ์ในอนาคตประกอบการตัดสินใจ

                 2.2 การรับความเสี่ยงไว้เอง (Risk Retention) คือการที่ผู้บริหารขององค์กรนั้นๆ ยินยอมที่จะรับภาระความเสี่ยงหรือความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นไว้เอง เนื่องจากเล็งเห็นว่าโอกาส หรือความน่าจะเป็นที่จะเกิดความเสียหายอยู่ในวิสัยที่การทำธุรกิจนั้นยอมรับได้

                 2.3. การโอนความเสี่ยง (Risk Transfer) เป็นวิธีการจัดการความเสี่ยงอีกรูปแบบหนึ่งที่ธุรกิจจะต้องวิเคราะห์และตัดสินใจที่จะเลือกโอนความเสี่ยงออกไปในรูปแบบใด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของธุรกิจนั้นๆ เช่น การโอนความเสี่ยงไปให้บุคคลอื่นที่มิใช่บริษัทประกันโดยสัญญา หรือการโอนความเสี่ยงไปให้บริษัทประกันภัยตามรูปแบบและเงื่อนไขที่ธุรกิจต้องการ

                 2.4. การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk Aviodance) การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงอาจกระทำได้โดยวิธีการง่ายๆโดยที่ธุรกิจไม่พยายามเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง อย่างไรก็ตามวิธีการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงนี้น่าจะเป็นวิธีสุดท้ายหลังจากที่ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่อาจใช้วิธีการอื่นเข้ามาแก้ไขได้เท่านั้น การตัดสินใจในวิธีการนี้ธุรกิจต้องเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียก่อนการตัดสินใจ

            3. การคัดเลือกวิธีการที่ดีที่สุด
การตัดสินใจคัดเลือกวิธีการบริหารความเสี่ยงจะต้องคำนึงถึง

• ความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นหากเลือกวิธีการดังกล่าว และการเตรียมแนวทางแก้ไข
• ค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในการจัดการตามวิธีการที่คัดเลือกมีจำนวนมากน้อยเพียงใด
• ผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของธุรกิจที่อาจได้รับจากการตัดสินใจเลือกวิธีการดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่ได้ตัดสินใจเลือกวิธีการที่จะใช้ในการจัดการความเสี่ยงด้วยวิธีใดแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ มาตรการที่ได้เลือกใช้นั้นมีความเหมาะสมกับภาวะแวดล้อมในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้เพื่อให้ธุรกิจสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารความเสี่ยงให้สอดคล้องกับสถานการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจต่อไป

           4. รายงานความเสี่ยงที่เหลือ (Residual Risk Reporting)
เมื่อได้ดำเนินการตามแนวทางที่ระบุไว้แล้ว ก็จะทำการรวบรวมความเสี่ยงที่ยังคงเหลือไปนำเสนอผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ
          
           5. ติดตามผล และประเมินผล (Monitoring and Evaluation)
เมื่อการดำเนินงานในขั้นต่าง ๆ ได้ดำเนินงานผ่านพ้นไป ขั้นตอนนี้จะเป็นการติดตามผลที่ได้กระทำไป

Rating for effectiveness of Risk Control
Non-existing   No risk mitigation activities are operating or existing.
PoorThere      have been frequent risk mitigation failures (up to 40%) or the risk mitigation is found to be unsatisfactory. They may be effective, but are not continuously applied, well placed, efficient or able to automatically adjust to changes in the environment
Fair     Risk mitigations are in place, effective and continuously applied but there may be instances of risk mitigation failures (up to 20%). Some risk mitigations may not be well placed, efficient nor able to automatically adjust to changes in environment.

Good  Risk mitigations are effective, continuously applied and well placed with some instances of risk mitigation failures (up to 5%). Few risk mitigations are neither efficient nor able to automatically adjust to changes in the environment.

Very Good     All risk mitigations are in place and there have been no instances of risk mitigation failures. Risk mitigations are effective, continuously applied well placed and efficient and are able to automatically adjust to changes in the environment.


อย่างไรก็ตามแม้จะมีการการจัดการกับความเสี่ยงที่ถูกระบุไว้เป็นอย่างดีเรียบร้อยแล้ว  องค์กรไม่ควรอยู่นิ่งหรือหยุดกิจกรรมการจัดการความเสี่ยง เพราะความจริงแล้วความเสี่ยงใหม่ๆเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้นทุกๆองค์ควรมีกิจกรรมในการประเมินความเสี่ยงใหม่ๆที่อาจเกิดขึ้นในองค์กรตลอดเวลา เพื่อหาทางรับมือและจัดการกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นอย่างเหมาะสมและทันท่วงที

เหตุการณ์ความไม่สงบในบ้านเมืองอันเนื่องมาจากการชุมนุมของกลุ่ม นปช. ในปัจจุบันสะท้อนถึงความไม่แน่นอนของสถานการณ์ซึ่งความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ซึ่งความไม่แน่นอนดังกล่าวก็คือความเสี่ยงที่หลายองค์กรกำลังเผชิญอยู่นั่นเองครับ นับว่าเป็นความท้าทายของผู้บริหารไม่ใช่น้อยกับการบริหารจัดการและนำพาองค์กรให้ผ่านพ้นไปให้ได้ หากองค์กรใดที่มีการคาดการล่วงหน้าเกี่ยวกับสถานการณ์ที่กลุ่มผู้ชุมนุมได้ย้ายสถานที่ชุมนุมมาเป็นสี่แยกราชประสงค์โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการชุมนุมในบริเวณนั้น ซึ่งก็ได้แก่ บรรดาห้างร้าน ศูนย์การค้า โรงแรมต่างๆในย่านราชประสงค์ และได้มีการวางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมล่วงหน้า ดังนั้นเมื่อมีการชุมนุมที่บริเวณดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ก้สามารถนำเอาแผนการจัดการความเสี่ยงที่ได้เตรียมการไว้มาใช้จัดการกับสถานการณ์ได้ทันที ก็คงจะสามารถช่วยบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการชุมนุมของ นปช. ได้  แต่ที่ผ่านมาดูเหมือนว่าผู้บริหารขององค์กรดังกล่าวไม่ได้คาดการณ์ว่าจะมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ซ้ำยังไม่คาดคิดว่ากลุ่ม นปช. จะมาปักหลักชุมนุมกันอย่างยืดเยื้อ จนทำให้ผู้ประกอบการย่านราชประสงค์ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ตามปกติ สร้างความเสียหายแก่ องค์กรธุรกิจ ซึ่งมีการประมาณการ์กันว่าความเสียหายขององค์กรธุรกิจในย่านราชสงค์ลี่ยวันละไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาทเลยทีเดียวซึ่งนับว่าสูงมาก

อันที่จริงมีตัวอย่างของความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมและการก่อการร้ายทั้งในบ้านเราที่ผ่านมารวมถึงในต่างประเทศ มีจำนวนนับไม่ถ้วน  โดยเฉพาะกรณีที่เป็นข่าวใหญ่โตไปทั่วโลก นั่นคือเหตุการณ์ 911

ซึ่งผู้ก่อการร้ายได้จี้เครื่องบินให้พุ่งชนอาคารเวิลด์เทรดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นอาคารที่มีองค์กรธุรกิจที่สำคัญๆมากมายตั้งอยู่ เหตุการในครั้งนั้นสร้างความเสียหายให้แก่องค์กรธุรกิจและเศรษฐกิจของสหรัฐฯคิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทเลยทีเดียว ผู้คนที่อาศัยและทำงานในอาคารเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก รวมถึงข้อมูลทางธุรกิจที่บันทึกไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ในสำนักงานที่ตั้งอยู่ในอาคารเวิลด์เทรด และเอกสารต่างๆที่สำคัญล้วนจมอยู่ภายใต้ซากปรักหักพังของอาคาร  บางบริษัทใช้เวลานานหลายปีกว่าจะสามารถรวบรวมและกู้คืนข้อมูลเอกสารได้มาเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น แต่ในบรรดาบริษัททั้งหลายที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ ปรากฏว่ามีบริษัทแห่งหนึ่งที่มีสำนักงานในอาคารเวิลด์เทรดเช่นกัน สามารถกลับมาดำเนินการธุรกิจได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง เพราะมีการสำรองข้อมูลไว้อีกแห่งหนึ่งนอกอาคารเวิลด์เทรด ที่น่าสนใจก็คือ การสำรองข้อมูลของบริษัทแห่งนี้ไม่ได้เกิดจากความบังเอิญแต่อย่างใด  แต่เกิดจากการคาดการณ์ล่วงหน้าถึงเหตุการณ์ร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้น และการหาวิธีจัดการกับเหตุการที่อาจเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ

โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศคนหนึ่งของบริษัทแห่งนั้น ได้เสนอกับผู้บริหารระดับสูงของบริษัทให้มีการสำรองระบบจัดเก็บข้อมูลของบริษัทไว้อีกแห่งหนึ่ง หากมีกรณีร้ายแรงเกิดขึ้นกับอาคารที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานแห่งใดแห่งหนึ่ง จนเป็นเหตุให้ ไม่สามารถดำเนินกิจการในสำนักงานนั้นๆอีกต่อไป ก็ยังสามารถมาดำเนินการที่สำนักงานอีกแห่งหนึ่งแทนได้ ตอนแรกผู้บริหารต่างพากันไม่เห็นด้วยเพราะมองว่าเหตุการ์ร้ายแรงที่ว่า ไม่ว่าจะเป็นกรณีแผ่นดินไหว ไฟไหม้ จนทำให้อาคารพังทลาย มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมากหรือไม่มีทางเป็นไปได้เลย และไม่ต้องการเสียเงินจำนวนมากมาลงทุนเช่าสำนักงานเพื่อสร้างระบบสำรองเพิ่ม แต่เจ้าหน้าที่คนนั้นก็ได้พยายามยกเหตุผลและอธิบายให้เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ที่จะได้รับของการสร้างสำนักงานอีกแห่งเพื่อสำรองข้อมูล เพราะถึงผู้บริหารจะมองว่าโอกาสในการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว (Likelihood) มีน้อยมาก (Rare) จนในที่สุดผู้บริหารก็ตกลงให้ดำเนินการ

แล้วการตัดสินใจของผู้บริหารในครั้งนั้นก็สร้างประโยชน์ให้กับบริษัทอย่างมหาศาล เมื่อเหตุการ์ที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน เกิดขึ้น นั่นคือผู้ก่อการณ์ร้ายได้จี้เครื้องบินให้บินพุ่งชนอาคารเวิลด์เทรดในวันที่ 11 กันยายน 2544 จนทำให้อาคารถล่มลงในเวลาต่อมา บริษัทดังกล่าวได้รับความเสียหายจากการเสียชีวิตของพนักงานบางส่วน ทรัพย์สินของบริษัทที่อยู่ในอาคารเสียหาย เอกสารในอาคารต่างๆสูญหาย ระบบข้อมูลเสียหายทั้งหมด แต่บริษัทสามารถกลับมาดำเนินการได้อย่างรวดเร็วเพียงเวลาไม่กี่ชั่วโมง เพราะบริษัทสามารถเปลี่ยนไปใช้ข้อมูลและระบบต่างๆที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจที่ได้สำรองไว้อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งเมื่อเทียบกับเงินที่ลงทุนในการเช่าสำนักงานสำหรับสำรองข้อมูลแล้วถือว่าคุ้มค่ามาก ส่วนบริษัทอื่นๆทั้งหลายที่มีสำนักงานในอาคารเวิลด์เทรดต้องใช้เวลานานเป็นปีในการกู้เอาข้อมูลและเอกสารคืนมาได้เพียงบางส่วนเท่านั้น
และกว่าที่บรัทอื่นๆจะสามารถกลับมาดำเนินกิจการได้ตามปกติก็ต้องใช้เวลาหลายปีเลยทีเดียว

นั่นคือตัวอย่างของการจัดการความเสี่ยงที่ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อการอยู่รอดขององค์กร ซึ่งขึ้นอยู่กับการร่วมมือกันของคนในองค์กรในการระบุความเสี่ยงและการเสนอวิธีในการจัดการความเสี่ยง โดยผู้บริหารเองก็ต้องมีวิสัยทัศน์ในการมองเรื่องการจัดการความเสี่ยงที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรด้วย

เมื่อย้อนมาดูกรณีองค์กรธุรกิจย่านราชประสงค์ หากผู้บริหารและพนักงานในองค์กรได้มีการวิเคราะห์ถึงความเสี่ยงกรณีมีการชุมนุมของ นปช. ที่สี่แยกราชประสงค์ไว้ล่วงหน้าและร่วมมือกันหาทางจัดการกับเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นไว้ตั้งแต่เกิดการชุมนุม ความสูญเสียที่เกิดขึ้นก็คงจะไม่มากมายนัก เช่น หากวิเคราะห์ว่ามีความเป็นไปได้น้อยมาก (ที่กลุ่ม นปช. จะเคลื่อนตัวมาชุมนุมที่แยกราชประสงค์ แต่หากเกิดขึ้นจริงองค์กรธุรกิจอาจไม่สามารถดำเนินกิจการได้เลย ซึ่งจะเกิดความเสียหายมากมาย (ความเป็นไปได้น้อยแต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้น และสร้างความเสียหายสูงมาก) บางรายที่สายป่านยาวไม่ถึงก้อาจต้องหยุดกิจการไปเลยก็ได้

ซึ่งกรณีแบบนี้ผู้บริหารอาจวางกลยุทธ์ในการรับมือไว้ล่วงหน้า เช่น เตรียมแจ้งให้ผู้เช่าพื้นที่ขนย้ายสินค้าบางส่วนไปที่สาขาอื่นๆที่ไม่ได้รับผลกระทบแทน ให้พนักงานของสาขาดังกล่าวไปทำงานที่สาขาอื่นๆชั่วคราวจนกว่าสาขานั้นจะกลับมาดำเนินการได้ เจ้าของร้านค้าอาจเตรียมการหาสถานที่ใหม่รองรับไว้เผื่อมีการชุมนุมยืดเยื้อ เป็นต้น

ส่วนบริษัทที่มีสำนักงานอยู่บริเวณอาคารดังกล่าว อาจวางแผนไว้ตั้งแต่เนิ่นๆในการเตรียมหาสถานที่สำรองสำหรับให้พนักงานทำงาน เช่น หากบริษัทมีสำนักงานหลายแห่ง ก็อาจให้พนักงานในสำนักงานที่ได้รับผลกระทบไปทำงานที่สำนักงานแห่งอื่นที่ไม่ได้รับผลกระทบ เป็นต้น เพื่อให้การดำเนินธุรกิจขององค์กรเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง

จากเหตุการณ์การชุมนุมที่ยืดเยื้อของกลุ่ม นปช. บริเวณแยกราชประสงค์ ผมเชื่อว่าจะทำให้หลายๆองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการชุมนุมในครั้งนี้ หันมาให้ความสนในและความสำคัญของการจัดการความเสี่ยงกันมากขึ้น ผุ้บริหารหลายคนอาจเริ่มมองว่า การรวมเอาศูนย์การทำงานมาไว้ที่เดียวกัน (Centralization) อาจมีความเสี่ยงหากมีการชุมนุมหรือเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นใกล้เคียงหรือเกิดกับอาคารสำนักงานโดยตรง

เพราะทำให้พนักงานไม่สามารถทำงานได้ และอาจตัดสินใจให้มีการกระจายการทำงาน (Decentralization) หรือกระจายสำนักงานมากกว่าหนึ่งแห่งที่มีระบบการทำงานรองรับไว้  เป็นต้น

ดังนั้นการวิเคราะห์ความเสี่ยงล่วงหน้าและการวางแผนเพื่อรองรับการจัดการความเสี่ยงนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกองค์กร



นอกจากความเสี่ยงที่เกิดขึ้นซึ่งมีผลต่อการดำเนินการขององค์กรธุรกิจแล้ว ยังมีเรื่องของอุบัติภัยซึ่งมักเป็นเรื่องที่ไม่คาดคิด เกิดขึ้นได้เช่นกันดังนั้นองค์กรทุกองค์กรควรมีมารตรการในการรับมือกับภัยที่อาจเกิดขึ้นด้วย เพื่อที่ว่าเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงจะได้สามารถรับมือกับเหตุการณ์ได้อย่างทันท่วงทีและเหมาะสม




 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การจัดการความเสี่ยง



มาตรการรับมือกับภัย 5 มาตรการ (5 R)

R1 Readiness ความเตรียมพร้อม
องค์กรต้องเตรียมความพร้อมระบบการบริหารความเสี่ยงให้มีความพร้อมในการจัดทำมาตรการขจัดหรือควบคุมภัยต่างๆเอาไว้ล่วงหน้า
R2 Response การตอบสนองอย่างฉับไว
เมื่อเกิดอุบัติภัยขึ้นระบบต้องมีสมรรถนะที่ดีพอในการตอบโต้ภัยแต่ละชนิดอย่างได้ผลและทันเวลา
R3 Rescue การช่วยเหลือกู้ภัย
เป็นกระบวนการปกป้องชีวิตและทรัพย์สินขององค์กร ที่ได้ผลและทันเวลา
R4 Rehabilitation การกลับเข้าไปทำงาน
เมื่ออุบัติภัยสิ้นสุดลงแล้วต้องกลับเข้าไปที่เดิมให้เร็วที่สุดเพื่อ การซ่อมแซม การเปลี่ยนใหม่ หรือการสร้างขึ้นใหม่ (Rebuild) เพื่อให้อาคารสถานที่พร้อมที่จะดำเนินกิจการต่อไปได้ อาจรวมไปถึงการประกันภัยด้วย
R5 Resumption การกลับคืนสู่สภาวะปกติ
องค์กรสามารถเปิดทำการ หรือ ดำเนินธุรกิจต่อไปตามปกติได้เสมือนว่าไม่มีอุบัติภัยมาก่อน
Response กับ Rescue อาจจะเหมือนเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ความจริงแล้วแตกต่างกัน โดยขอยกตัวอย่าง กรณีเกิดอัคคีภัย อุปกรณ์ดับเพลิงอัตโนมัติ รวมถึง Fire Alarm คือขั้นตอนของ Response แต่ไฟฉุกเฉินและเครื่องช่วยหายใจ เพื่อให้พนักงานสวม เพื่อหนีออกจากอาคาร เป็นขั้นตอนของ Rescue
หวังว่าเนื้อหารวมถึงกรณีศึกษาที่ผมเขียนมาจะมีประโยชน์สำหรับทุกท่านในการนำไปประยุกต์ใช้กับการจัดการความเสี่ยงของหน่วยงานของตนเองได้อย่างเหมาะสมครับ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูป การ์ตูน เคลื่อนไหว

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.gotoknow.org/posts/364878
สืบค้นเมื่อวันที่ 6/12/2560