1.องค์การ
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจความหมายของการจัดองค์กรการศึกษา
2.
เพื่อให้นักศึกษาจำแนกประเภทของการจัดโครงสร้างองค์กรได้
3.
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจสามารถอธิบายถึงทฤษฎีองค์การที่กล่าวถึงการ
ศึกษาองค์การในรูประบบตลอดถึงการนำไปใช้ให้เหมาะสมกับบริบทขององค์กร
แนวคิด
1.
การประกอบการทุกประเภททุกระดับต้องมีการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะองค์การเป็นที่
รวมของคน
และงานต่างๆ เพื่อให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ จึงจ
าเป็นต้องจัดแบ่งหน้าที่การงานกันท า
และมอบอ
านาจให้รับผิดชอบตามความสามารถและความถนัดการจัดองค์การเป็นการจัดระบบความสัมพันธ์
ระหว่างส่วนงานต่างๆ
และบุคคลในองค์การ โดยกำหนดภารกิจ อานาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้ชัดแจ้ง
เพื่อให้การดำเนินงานตามภารกิจขององค์การบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
2.
ทฤษฎีองค์การ แบ่งเป็น 3 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีดั้งเดิม ทฤษฎีสมัยใหม่ และทฤษฎีสมัยปัจจุบัน
3.
ประเภทขององค์การหากจาแนกโดยยึดโครงสร้าง แบ่งได้ 2 แบบคือ องค์การแบบเป็นทางการ
และ องค์การแบบไม่เป็นทางการ
4.
หลักการจัดองค์การที่ดี มีอยู่หลายประการ ในส่วน หลักสำคัญที่ต้องมี คือ
หลักวัตถุประสงค์หลักความรู้
ความสามารถเฉพาะอย่าง
หลักการประสานงาน หลักของอ านาจหน้าที่ และหลักความรับผิดชอบ
5.
กระบวนการจัดองค์การ มี 3 ขั้น คือ การจัดกลุ่มงานและโครงสร้างตำแหน่ง การมอบหมาย
อำนาจหน้าที่
และการจัดวางความสัมพันธ์
6.
การจัดโครงสร้างขององค์การ แบ่งได้ 5 ประเภท ได้แก่ โครงสร้างตามหน้าที่การงาน
โครงสร้างตามสายงานหลัก
โครงสร้างแบบคณะที่ปรึกษา โครงสร้างแบบคณะกรรมการบริหาร และโครงสร้างงานอนุกร
7.
โครงสร้างองค์การแบบสูง และแบบกว้าง ถ้าแบบสูงจะมีการบังคับบัญชากันหลายระดับ
กระบวนการทำงานจะช้า
ส่วนแบบกว้างจะมีระดับการสั่งการน้อย กระบวนการท างานจะรวดเร็ว
8.
การจัดแผนกงาน แบ่งได้ 5 ลักษณะ ได้แก่
1.ตามหน้าที่
2.ตามประเภทผลิตภัณฑ์
3.ตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์
4. ตามกระบวนการผลิต
5.ตามลูกค้า
9.
แผนภูมิองค์การแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่
แผนภูมิหลัก และแผนภูมิเสริม
10.
อานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
เป็นสิทธิที่ได้รับมอบหมายมาโดยถูกต้องตามกฎหมายที่
จะสั่งให้บุคคลอื่นปฏิบัติงานตามที่ตนต้องการและเป็นภาระผูกพันของบุคคลในการปฏิบัติงาน
11.
การมอบหมายงาน คือการกำหนดความรับผิดชอบ
และอานาจหน้าที่จากผู้บังคับบัญชาให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
ความหมายของการจัดองค์การ
มีผู้ให้คำนิยาม
คำว่า " การจัดองค์การ " ไว้หลายท่าน ดังนี้
Edwin
B.Flippo (1970) กล่าวไว้ว่า
การจัดองค์การ หมายถึง การจัดความสัมพันธ์ระหว่าง
ส่วนต่างๆ คือ
ตัวบุคคลและหน้าที่การงาน เพื่อรวมกันเข้าเป็นหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถทำงาน
บรรลุเป้าหมายได้
ธงชัย
สันติวงษ์(2537)
กล่าวไว้ว่า การจัดองค์การ คือ การจัดระเบียบกิจกรรมให้เป็นกลุ่มก้อน
เข้ารูป
และการมอบหมายงานให้คนปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของงานที่ตั้งไว้
การจัด
องค์การจะเป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบความรับผิดชอบต่างๆ
ทั้งนี้เพื่อให้ทุกคนต่างฝ่ายต่าง
ทราบว่า
ใครต้องทำอะไร และใครหรือกิจกรรมใดต้องสัมพันธ์กับฝ่ายอื่นๆอย่างไรบ้าง
สมคิด
บางโม (2538) กล่าวไว้ว่า
การจัดองค์การ หมายถึง การจัดแบ่งองค์การออกเป็น
หน่วยงานย่อยๆให้ครอบคลุมภารกิจและหน้าที่ขององค์การ
พร้อมกำหนดอำนาจหน้าที่และความสัมพันธ์กับ
องค์กรย่อยอื่นๆไว้ด้วย
ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ
สรุปได้ว่า
การจัดองค์การ หมายถึง การจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างส่วนงานต่างๆ
และบุคคลในองค์การ
โดยกำหนดภารกิจ
อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้ชัดแจ้ง เพื่อให้การดำเนินงานตามภารกิจขององค์การ
บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
ทฤษฎีองค์การ
ทฤษฎีองค์การอาจแบ่งได้เป็น
3 ทฤษฎีด้วยกันคือ
1. ทฤษฎีดั้งเดิม
(Classical organization theory)
2. ทฤษฎีสมัยใหม่
(Neo-Classical organization theory)
3. ทฤษฎีสมัยปัจจุบัน
(Modern organization theory)
ทฤษฎีดั้งเดิม
แนวความคิดทฤษฎีดั้งเดิม ได้วิวัฒนาการจากการปกครองแบบทหารจนมาถึง
ปลายศตวรรษที่
19 ได้นักบริหารสร้างรูปแบบการบริหารในระบบราชการขึ้น คือ แมควีเบอร์ และการสร้าง
รูปแบบการบริหาร
โดยใช้การจัดการทางวิทยาศาสตร์คือ เฟรดเดอริค เทย์เล่อร์
ทฤษฎีนี้มีหลักการว่า" คนเป็น
เครื่องมือที่ทำให้องค์การไปสู่จุดหมายปลายทางได้"
ซึ่งจะได้กล่าวรายละเอียดต่อไปนี้
1)
การจัดองค์การแบบราชการ (Bureaucracy) ของ แมค
วีเบอร์ (Max Weber) ได้เน้น
ให้เห็นถึงการจัดองค์การที่เป็นระเบียบ
สาระสำคัญที่ แมควีเบอร์ ได้เน้นก็คือ องค์การแบบราชการในอุดมคติ
นั้น
จะต้องประกอบด้วย
1.1) จะต้อมีการแบ่งงานกันทำโดยให้แต่ละคนปฏิบัติงานในสาขาที่ตนมีความชานาญ
1.2)
การยึดถืองานให้ยึดถือกฎเกณฑ์ระเบียบวินัยโดยเคร่งครัด เพื่อที่จะให้ได้
มาตรฐานของงานเท่าเทียมกัน
การยึดถือกฎเกณฑ์นี้จะช่วยขจัดพฤติกรรมที่บุคคลแตกต่างกันสามารถมา
ประสานงานกันได้
1.3) สายการบังคับบัญชาต้องชัดเจน
โดยผู้บังคับบัญชามอบหมายอำนาจหน้าที่
และความรับผิดชอบลดหลั่นกันลงไป
1.4) บุคคลในองค์การต้องไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ส่วนบุคคลโดยพยายามทำงานให้ดีที่สุด
เพื่อเป้าหมายขององค์การ
1.5) การคัดเลือกบุคคล การว่าจ้าง
ให้ขึ้นอยู่กับความสามารถ และการเลื่อน
ตำแหน่งให้คำนึงถึงการประสบความสำเร็จในการงานและอาวุโสด้วยจุดอ่อนขององค์การแบบราชการก็คือ
การเน้นที่องค์การโดยละเลยการพิจารณาถึงปัญหาของคน
และเชื่อว่าการที่มีโครงสร้างที่รัดกุมแน่นอนจะช่วย
ให้บุคคลปรับพฤติกรรมให้เป็นไปตามความต้องการขององค์การได้
2)
การจัดองค์การแบบวิทยาศาสตร์ ( Scientific Management) ของเฟรดเดอริคเทย์เล่อร์ ( Frederic Taylor)
เป็นการจัดองค์การแบบนำเอาวิธีการศึกษาวิทยาศาสตร์มาวิเคราะห์และแก้ปัญหาเพื่อปรังปรุงประสิทธิภาพขององค์กรให้ดีขึ้น
การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ได้เริ่มการใช้การทดลองเป็นเกณฑ์
เพื่อหามาตรการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
โดยที่คนงานจะถูกพิจารณาว่าต้องการทำงานเพื่อเศรษฐกิจด้านเดียวโดยละเลยการศึกษาถึงแรงจูงใจอารมณ์และความต้องการในสังคมของกลุ่มคนงานเพราะเชื่อว่าเงินตัวเดียวจะล่อใจให้คนทำงานได้ดีที่สุดทฤษฎีสมัยใหม่ เป็นทฤษฎีที่พัฒนามาจากดั้งเดิมทฤษฎีนี้มีหลักการว่า "คนเป็นปัจจัยสำาคัญ
และมีอิทธิพลต่อการเพิ่มผลผลิตขององค์การ" โดยเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของคนที่ทำหน้าร่วมกันในองค์การ
18
ถือว่าองค์การประกอบไปด้วยบุคคลซึ่งทำงานโดยมีเป้าหมายร่วมกัน และกลุ่มและปรับเข้ากับรูปแบบองค์การได้ในทุกสภาวะแวดล้อมทั้งนี้เพราะนักทฤษฏีปัจจุบันได้มององค์การในลักษณะ
กระบวนการทางด้านโครงสร้างที่บุคคลต่าง ๆ จะต้องเกี่ยวพันซึ่งกันและกันเพื่อบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ
จึงมีการศึกษาพฤติกรรมองค์การในลักษณะใหม่ๆ เช่น พฤติกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การบริการแบบมีส่วน
ร่วม การพัฒนาองค์การ คิว.ซี. และการบริหารแบบอนาคตนิยม เป็นต้น
หลักการจัดองค์การ
หลักการจัดองค์การ OSCAR ของ Henri
Fayol มาจากคำว่า Objective, Specialization, Coordination,
Authority และ Responsibility ซึ่ง Fayol
ได้เขียนหลักของการจัดองค์การไว้ 5 ข้อ
เมื่อนำเอาตัวอักษรตัวแรกของคำทั้ง 5 มาเรียงต่อกัน
จะทำให้สะกดได้คำว่า OSCAR สำหรับรายละเอียด ทั้ง 5 คำจะขอกล่าวไว้ใน " หลักในการจัดองค์การที่ดี "
หลักในการจัดองค์การที่ดีจะต้องมีองค์ประกอบและแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้ (ศิริอร ขันธหัตถ์, 2536)
1. หลักวัตถุประสงค์ (Objective) กล่าวว่า องค์การต้องมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน นอกจากนั้นตำแหน่งยังต้องมีวัตถุประสงค์ย่อยกำหนดไว้เพื่อว่าบุคคลที่ดำรงตำแหน่งจะได้พยายามบรรลุวัตถุประสงค์ย่อย ซึ่งช่วยให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์รวม
2. หลักความรู้ความสามารถเฉพาะอย่าง (Specialization) กล่าวว่า การจัดแบ่งงานควรจะแบ่งตามความถนัด พนักงานควรจะรับมอบหน้าที่เฉพาะเพียงอย่างเดียวและงานหน้าที่ที่คล้ายกันหรือสัมพันธ์กัน ควรจะต้องอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของคนคนเดียว
3. หลักการประสานงาน (Coordination) กล่าวว่า การประสานงานกัน คือ การหาทางทำให้ทุกๆฝ่ายร่วมมือกันและทำงานสอดคล้องกัน โดยใช้หลักสามัคคีธรรม เพื่อประโยชน์ขององค์การ
4. หลักของอำนาจหน้าที่ (Authority) กล่าวว่า ทุกองค์การต้องมีอำนาจสูงสุด
จากบุคคลผู้มีอำนาจสูงสุดนี้ จะมีการแยกอำนาจออกเป็นสายไปยังบุคคลทุกๆคนในองค์การ หลักนี้บางทีเรียกว่า Scalar Principle (หลักความลดหลั่นของอำนาจ) บางทีเรียกว่า Chain of command (สายการบังคับบัญชา) การกำหนดสายการบังคับบัญชานี้ก็เป็นวิธีประสานงานอย่างหนึ่ง
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) หลักของความรับผิดชอบ กล่าวว่า
อำนาจหน้าที่ควรจะเท่ากับความรับผิดชอบ คือบุคคลใดเมื่อได้รับมอบหมายความรับผิดชอบก็ควรจะได้รับมอบหมายอำนาจให้เพียงพอ เพื่อทำงานให้สำเร็จด้วยดี
6. หลักความสมดุล (Balance) จะต้องมอบหมายให้หน่วยงานย่อยทำงานให้สมดุลกันกล่าวคือปริมาณงานควรจะมีปริมาณที่ใกล้เคียงกัน รวมทั้งความสมดุลระหว่างงานกับอำนาจหน้าที่ที่จะมอบหมายด้วย
7. หลักความต่อเนื่อง (Continuity) ในการจัดองค์การเพื่อการบริหารงานควรจะเป็นการกระทำที่ต่อเนื่อง ไม่ใช่ ทำ ๆ หยุด ๆ หรือ ปิด ๆ เปิด ๆ ยิ่งถ้าเป็นบริษัทหรือห้างร้านคงจะไปไม่รอดแน่
8. หลักการโต้ตอบและการติดต่อ (Correspondence) ตำแหน่งทุกตำแห่งจะต้องมีการโต้ตอบระหว่างกันและติดต่อสื่อสารกัน องค์การจะต้องอำนวยความสะดวก จัดให้มีเครื่องมือและการติดต่อสื่อสารที่เป็นระบบ
9. หลักขอบเขตของการควบคุม (Span of control) เป็นการกำหนดขีดความสามารถในการบังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ ว่าควรจะควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาหรือจำนวนหน่วยงานย่อยมากเกินไป โดยปกติหัวหน้าคนงานไม่เกิน 6 หน่วยงาน
10. หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of command) ในการจัดองค์การที่ดี ควรให้เจ้าหน้าที่รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าง่านเพียงคนเดียวเท่านั้น เพื่อให้เกิดเอกภาพในการบังคับบัญชาจึงถือหลักการว่า "One man one boss"
11. หลักตามลำดับขั้น (Ordering) ในการที่นักบริหารหรือหัวหน้างานจะออกคำสั่งแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ควรปฏิบัติการตามลำดับขั้นของสายการบังคับบัญชาไม่ควรออกคำสั่งข้ามหน้าผู้บังคับบัญชา หรือผู้ที่มีความรับผิดชอบโดยตรง เช่น อธิการจะสั่งการใด ๆ แก่หัวหน้าภาควิชาควรที่จะสั่งผ่านหัวหน้าคณะภาควิชานั้นสังกัดอยู่ อย่างน้อยที่สุดก็ควรจะได้แจ้งหัวหน้าคณะวิชานั้น ๆ ทราบด้วย เพื่อป้องกันความเข้าใจผิด และอาจจะเป็นการทำงายขวัญและจิตใจในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาโดยไม่ตั้งใจ
12. หลักการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง (Promotion) ในการพิจาความดีความความชอบและการเอนตำแหน่งควรถือหลักว่า ผู้บังคับบัญชาโดยตรงย่อมเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับใต้บังคับบัญชาของตนโดยใกล้ชิดและย่อมทราบพฤติกรรมในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาได้ดีกว่าผู้อื่น ดังนั้นการพิจารณาให้คุณและโทษแก่ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้ใดก็ควรให้ผู้นั้นทราบและมีสิทธิมีเสียงในการพิจารณาด้วยเพื่อความเป็นธรรมแก่ใต้บังคับบัญชาของเขา และเพื่อเป็นการเสริมสร้างขวัญในการทำงานของบุคคลในองค์การด้วย
1. หลักวัตถุประสงค์ (Objective) กล่าวว่า องค์การต้องมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน นอกจากนั้นตำแหน่งยังต้องมีวัตถุประสงค์ย่อยกำหนดไว้เพื่อว่าบุคคลที่ดำรงตำแหน่งจะได้พยายามบรรลุวัตถุประสงค์ย่อย ซึ่งช่วยให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์รวม
2. หลักความรู้ความสามารถเฉพาะอย่าง (Specialization) กล่าวว่า การจัดแบ่งงานควรจะแบ่งตามความถนัด พนักงานควรจะรับมอบหน้าที่เฉพาะเพียงอย่างเดียวและงานหน้าที่ที่คล้ายกันหรือสัมพันธ์กัน ควรจะต้องอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของคนคนเดียว
3. หลักการประสานงาน (Coordination) กล่าวว่า การประสานงานกัน คือ การหาทางทำให้ทุกๆฝ่ายร่วมมือกันและทำงานสอดคล้องกัน โดยใช้หลักสามัคคีธรรม เพื่อประโยชน์ขององค์การ
4. หลักของอำนาจหน้าที่ (Authority) กล่าวว่า ทุกองค์การต้องมีอำนาจสูงสุด
จากบุคคลผู้มีอำนาจสูงสุดนี้ จะมีการแยกอำนาจออกเป็นสายไปยังบุคคลทุกๆคนในองค์การ หลักนี้บางทีเรียกว่า Scalar Principle (หลักความลดหลั่นของอำนาจ) บางทีเรียกว่า Chain of command (สายการบังคับบัญชา) การกำหนดสายการบังคับบัญชานี้ก็เป็นวิธีประสานงานอย่างหนึ่ง
5. หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) หลักของความรับผิดชอบ กล่าวว่า
อำนาจหน้าที่ควรจะเท่ากับความรับผิดชอบ คือบุคคลใดเมื่อได้รับมอบหมายความรับผิดชอบก็ควรจะได้รับมอบหมายอำนาจให้เพียงพอ เพื่อทำงานให้สำเร็จด้วยดี
6. หลักความสมดุล (Balance) จะต้องมอบหมายให้หน่วยงานย่อยทำงานให้สมดุลกันกล่าวคือปริมาณงานควรจะมีปริมาณที่ใกล้เคียงกัน รวมทั้งความสมดุลระหว่างงานกับอำนาจหน้าที่ที่จะมอบหมายด้วย
7. หลักความต่อเนื่อง (Continuity) ในการจัดองค์การเพื่อการบริหารงานควรจะเป็นการกระทำที่ต่อเนื่อง ไม่ใช่ ทำ ๆ หยุด ๆ หรือ ปิด ๆ เปิด ๆ ยิ่งถ้าเป็นบริษัทหรือห้างร้านคงจะไปไม่รอดแน่
8. หลักการโต้ตอบและการติดต่อ (Correspondence) ตำแหน่งทุกตำแห่งจะต้องมีการโต้ตอบระหว่างกันและติดต่อสื่อสารกัน องค์การจะต้องอำนวยความสะดวก จัดให้มีเครื่องมือและการติดต่อสื่อสารที่เป็นระบบ
9. หลักขอบเขตของการควบคุม (Span of control) เป็นการกำหนดขีดความสามารถในการบังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ๆ ว่าควรจะควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาหรือจำนวนหน่วยงานย่อยมากเกินไป โดยปกติหัวหน้าคนงานไม่เกิน 6 หน่วยงาน
10. หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of command) ในการจัดองค์การที่ดี ควรให้เจ้าหน้าที่รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าง่านเพียงคนเดียวเท่านั้น เพื่อให้เกิดเอกภาพในการบังคับบัญชาจึงถือหลักการว่า "One man one boss"
11. หลักตามลำดับขั้น (Ordering) ในการที่นักบริหารหรือหัวหน้างานจะออกคำสั่งแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ควรปฏิบัติการตามลำดับขั้นของสายการบังคับบัญชาไม่ควรออกคำสั่งข้ามหน้าผู้บังคับบัญชา หรือผู้ที่มีความรับผิดชอบโดยตรง เช่น อธิการจะสั่งการใด ๆ แก่หัวหน้าภาควิชาควรที่จะสั่งผ่านหัวหน้าคณะภาควิชานั้นสังกัดอยู่ อย่างน้อยที่สุดก็ควรจะได้แจ้งหัวหน้าคณะวิชานั้น ๆ ทราบด้วย เพื่อป้องกันความเข้าใจผิด และอาจจะเป็นการทำงายขวัญและจิตใจในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาโดยไม่ตั้งใจ
12. หลักการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง (Promotion) ในการพิจาความดีความความชอบและการเอนตำแหน่งควรถือหลักว่า ผู้บังคับบัญชาโดยตรงย่อมเป็นผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับใต้บังคับบัญชาของตนโดยใกล้ชิดและย่อมทราบพฤติกรรมในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาได้ดีกว่าผู้อื่น ดังนั้นการพิจารณาให้คุณและโทษแก่ผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้ใดก็ควรให้ผู้นั้นทราบและมีสิทธิมีเสียงในการพิจารณาด้วยเพื่อความเป็นธรรมแก่ใต้บังคับบัญชาของเขา และเพื่อเป็นการเสริมสร้างขวัญในการทำงานของบุคคลในองค์การด้วย
ขอขอบคุณแหล่งที่มา http://cyberu.northcm.ac.th/mdata/12/PDF/004.pdf
สืบค้นเมื่อวันที่ 31/10/2560
สืบค้นเมื่อวันที่ 31/10/2560